การติดตั้ง Network Card
ขั้นตอนการติดตั้งเน็ตเวิร์ก นั้นเราสามารถทำได้โดยการ Add New Hardware ใน Control Panel โดยเลือกที่ Start Menu => Setings => Control Panel ดังรูปที่ 6 และ 7 เมื่อ ดับเบิลคลิกเข้ามา ก็จะมีหน้าต่างบอกอะไรเราเล็กน้อย ให้เราคลิก Next ต่อไป เครื่องก็จะทำการค้นหา ตัวอุปกรณ์ที่มีอยู่ในเครื่องของเรา แต่ยังไม่ได้ทำการติดตั้ง Driver ซึ่งในที่นี้ เครื่องจะพบ อุปกรณ์ Network Card ดังรูปที่ 8 | |
![]() รูปที่ 6 | ![]() รูปที่ 7 |

รูปที่ 8
จากนั้น เครื่องจะถามเราว่าให้เราเลือก Driver อย่างไร ซึ่งจะมีอยู่ 2 ทางเลือกคือ ให้เครื่องเป็นฝ่ายเลือกให้ กับเราเป็นคนเลือกเอง ในที่นี้เราจะใช้ทางเลือกที่ 2 คือเราจะทำการเลือกติดตั้ง Driver เอง ดังรูปที่ 9 จากนั้นเครื่องก็จะทำการเลือก อุปกรณ์ที่ใกล้เคียงกับอุปกรณ์ของเรามากที่สุด บางทีก็ไม่มีเลย ให้เราเลือก Show All Device ในกรณีที่ต้องการดู Driver ทั้งหมดที่เครื่องมีให้เราเลือก หรือ อาจจะเลือกจากการกดปุ่ม Have disk ซึ่งจะเป็นการเลือก Driver จาก แหล่งอื่น ๆ อย่างเช่น แผ่น Disk , แผ่น CD-Rom เป็นต้น ดังรูปที่ 10 | |
![]() รูปที่ 9 | ![]() รูปที่ 10 |
เมื่อเราเลือกแบบ Show All Device แล้วพบอุปกรณ์ที่เป็นของเราจริง เราก็สามารถเลือกจากตรงนี้ได้ เมื่อเลือกแล้ว เครื่องก็จะให้ใส่ แผ่น Driver พร้อมที่จะติดตั้ง เราก็จัดเตรียมแผ่น Driver ที่แถมติดมากับอุปกรณ์ของเราลงไป เครื่องก็จะจัดการ Copy ข้อมูลลงเครื่องไว้ ดังรูป ที่ 11, 12, 1 3 | |
![]() | ![]() |
![]() | ![]() |
![]() | ![]() |
เมื่อทำการลง Driver เรียบร้อยแล้ว เครื่องก็จะบอกว่า ได้ทำการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ให้เรากดปุ่ม Finish เป็นอันเสร็จขั้นตอนการติดตั้ง Network Card พร้อมทั้งให้ restart เครื่อง เริ่มระบบกันใหม่ |
เมื่อเครื่องทำการ Reboot เสร็จเรียบร้อยแล้ว ถ้าให้แน่ใจว่า เราได้ทำการติดตั้ง Network Card สมบูรณ์ และใช้งานได้แล้วนั้น ให้เรา click ขวา ที่ My Computer แล้วเลือกที่ TAB - Device Manager ถ้าเครื่องเราติดตั้ง network card สมบูรณ์แล้ว จะแสดงดังภาพที่ 14 แต่ถ้าการติดตั้งไม่สมบูรณ์ หรือมีข้อผิดพลาด ที่รูปอุปกรณ์ตัวนั้นจะมี เครื่องหมายตกใจอยู่ ดังรูปที่15 ถ้าเป็นแบบนี้ ก็ให้เราเลือกลง Driver Network Card ใหม่อีกรอบ และเลือกให้ถูกต้องด้วย
![]() | ![]() |
ภาพที่ 14 | ภาพที่ 15 |
การตรวจสอบระบบเครือข่าย TCP/IP Protocol
Click ขวา ที่ My Computer เลือก Properties ---> Device Manager
ดูว่า Lan Card ที่เราติดตั้ง มีเครื่องหมาย ! อยู่ข้างหน้าหรือเปล่า ถ้า มี ให้ Remove แล้ว Setupใหม่

Click ขวา ที่ My Computer เลือก Properties ---> Device Manager
ดูว่า Lan Card ที่เราติดตั้ง มีเครื่องหมาย ! อยู่ข้างหน้าหรือเปล่า ถ้า มี ให้ Remove แล้ว Setupใหม่

![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
วิธีติดตั้ง LAN Card |
Network Interface Card : NIC หรือที่เรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า แลนการ์ด (LAN Card) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูล จากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องอื่น ๆ การติดตั้งจำเป็นต้องเสียบแลนการ์ดลงในช่องเสียบ (Slot) ซึ่งอยู่ภายในคอมพิวเตอร์
เตรียมเครื่องก่อนติดตั้งแลนการ์ด
1. ปิดโปรแกรมให้หมด จากนั้นให้ Shut Down เครื่อง2. ปิดปุ่มสวิตซ์ (Power Switch) และถอดปลั๊กไฟออกให้หมด
3. เสียบแลนการ์ดลงในช่องเสียบ ให้ถูกต้องกับชนิดของแลนการ์ดและช่องเสียบ
4. ต่อสายเคเบิ้ลเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นระบบเครือข่าย
ขั้นตอนการติดตั้ง LAN Card
ถ้าเป็น Windows 95 ให้ทำตั้งแต่ขั้นที่ 1 เป็นต้นไป แต่ถ้าเป็น Windows 98 ขึ้นไปให้ข้ามขั้นตอนที่ 1-5 เพราะ Windows 98 จะเห็น LAN Card โดยอัตโนมัติ1. คลิกปุ่ม Start -> Settings -> Control Panel และดับเบิลคลิกไอคอน Network | ![]() |
2. ที่แท็บ Configuration คลิกปุ่ม Add… | ![]() |
3. จะปรากฏไดอะลอกซ์บอกซ์ Select Network Component Type ให้คลิกเลือก Adapter และคลิกปุ่ม Add | ![]() |
4. คลิกเลือก แลนการ์ดรุ่นที่ต้องการ เช่น Realtek Realtek RTL8019 PnP LAN adapter or compatible แล้วคลิก ปุ่ม OK | ![]() |
5. จะได้ LAN Card ติดตั้ง โดยปรากฏขึ้นในช่อง The following network components are installed: จากนั้น คลิกปุ่ม Add… อีกครั้ง เพื่อติดตั้ง Protocol NetBEUI เพื่อให้ใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ใน workgroup | ![]() |
วิธีติดตั้ง Protocol NetBEUI และ TCP/IP |
6. จะปรากฏไดอะลอกซ์บอกซ์ Select Network Component Type ให้คลิกเลือก Protocol และคลิกปุ่ม Add… | ![]() |
7. คลิกเลือก Microsoft และ NetBEUI แล้วคลิก ปุ่ม OK | ![]() |
8. จะได้ Protocol NetBEUI ติดตั้งโดยปรากฏขึ้นในช่อง The following network components are installed: จากนั้น คลิกปุ่ม Add… อีกครั้งเพื่อติดตั้ง Protocol TCP/IP ซึ่งเป็น Protocol ที่จำเป็นสำหรับอินเทอร์เน็ต | ![]() |
9. จะปรากฏไดอะลอกซ์บอกซ์ Select Network Component Type ให้คลิกเลือก Protocol และคลิกปุ่ม Add… | ![]() |
10. คลิกเลือก Microsoft และ TCP/IP แล้วคลิก ปุ่ม OK | ![]() |
11. จะได้ Protocol TCP/IP ติดตั้งโดยปรากฏ ขึ้นในช่อง The following network components are installed: จากนั้นคลิกแท็บ Identification เพื่อระบุชื่อและกำหนด workgroup | ![]() |
Click ที่ File and Print Sharing [เพื่อทำให้ Computer ใช้ Files และ Printer ร่วมกันได้] Click เลือกทั้ง 2 ช่อง แล้ว Click OK | ![]() |
12. พิมพ์ชื่อคอมพิวเตอร์ (Computer name) และชื่อกลุ่มงาน (Workgroup) ที่ต้องการ ชื่อของคอมพิวเตอร์ต้องไม่ซ้ำกัน ในกลุ่มงาน เดียวกันและยังสามารถพิมพ์คำอธิบายได้อีกด้วย ในช่อง Computer Description ( บุคคลอื่น ๆ บนเครือข่ายจะเห็นคำอธิบายนี้ได้เมื่อดูที่รายการ ของคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย ) … แล้วจึงกดปุ่ม OK | ![]() |
13. จะปรากฏไดอะลอกบ็อกซ์ Copying Files ในการถามหา แผ่น CD- ROM โปรแกรม Windows95/98 แล้วแต่กรณี | ![]() |
14. จากนั้น จะปรากฏไดอะลอกบ็อกซ์เพื่อ บอกว่าต้องเริ่มรันวินโดวส์อีกครั้ง การติดตั้งดังกล่าวจึงจะมีผล คลิกปุ่ม Yes | ![]() |
หลังจากทำการติดตั้ง Lan Card ตามคู่มือของ Lan Cardที่ให้มาแล้ว เราก็จะได้ [Clickขวาที่Icon Network Neighborhood บนDesktop ---->Click Properties--->Configuration] | ![]() |
Click เลือก TCP/IP ที่มีชื่อ Lan Card ที่เราติดตั้ง แล้ว Click Properties [หรือ Double Click ที่TCP/IPที่มีชื่อ Lan Card ที่เราติดตั้ง ก็ได้ครับ] | ![]() |
Click เลือก Specify an IP address แล้วใส่ หมายเลขลงในช่อง IP Address และ Subnet Mask แล้ว Click OK โดย IP Address แต่ละเครื่องต้องไม่ซ้ำกัน เช่น เครื่องที่ 1 เป็น 192.168.0.1 เครื่องที่ 2 เป็น 192.168.0.2 เครื่องที่ 3 เป็น 192.168.0.3ไปเรื่อยๆ แต่ค่า Subnet Maskให้เหมือนกันทุกเครื่อง ค่าของ IP Address ใช้ค่าอะไรก็ได้ที่อยู่ในช่วงของ Private IP ranges The private IP ranges that will not be allocated on the Internet are: 10.0.0.0 to 10.255.255.255 Class A 172.16.0.0 to 172.31.255.255 Class B 192.168.0.0 to 192.168.255.255 Class C Do not choose an IP range that is not on this list. Also note that 0 and 255 are reserved in any class. | |
การทำให้เครื่องระบบเครือข่ายมองเห็นกันDouble Click ที่ Icon Network Neighborhood [บน Desktop] เครื่องควรจะมองเห็นกันแล้วครับ | ![]() |
หรือ เข้าดูที่ Start--->Find--->Computer | ![]() |
Click ที่ Computer | ![]() |
พิมพ์ชื่อเครื่อง Computer ที่ต้องการทดสอบ แล้ว Click ที่ Find Now | ![]() |
ถึงเครื่องจะมองเห็นกันแล้ว แต่การจะใช้ Files , Drives , Printer ร่วมกันได้ เราต้องทำการSharingก่อนครับ หมายเหตุ ในขั้นตอนต่างๆ อาจมีการ สั่งให้ Restart หรือ ต้องการแผ่น Cdrom Windowsด้วยครับ |
TCP/IP (Transmission Control Protocol)
หากการ
นอก
IP Address |
หมาย
มี
![]() | Class A Class A ประกอบ |
![]() | Class B Class B ประกอบ |
![]() | Class C Class C ประกอบ |
![]() | Class D, E และ F มี |
ตัว
มี
สับเนต |
ดัง
โดเ |
เกตเวย์ (Gateway) |
เรื่องราวของ IP Address ถูกกล่าวขานกันมาพร้อมกับการขยายตัวของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่ใช้ภาษาในการสื่อสารกันที่เรารู้จักกันดีในชื่อ TCP/IP (Transmission Control Protocol/ Internet Protocol) และจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทำจำนวน IP Address ไม่พอต่อความต้องการ จึงมีการพัฒนา IPv6 มาเสริมทัพกับ IPv4 เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ แต่ถึงอย่างไร IPv4 ยังคงเป็นพื้นฐานสำหรับโลกอินเตอร์เน็ตอยู่ต่อไปอีกนานทีเดียว เรื่องการกำหนดหมายเลข IP (IP Addressing) เป็นพื้นฐานที่ดี ทั้งยังเป็นความรู้เพิ่มเติมสำหรับผู้ที่สนใจ ได้พอสมควร
IP Address เปรียบเสมือนกับเลขที่บ้านของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต การส่งข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต ก็เหมือนกับการส่งจดหมาย ซึ่งต้องระบุบ้านเลขที่บนซองจดหมายเพื่อให้จดหมายถึงปลายทางได้อย่าถูกต้อง เครื่องคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์เน็ตเวิร์ค ก็เช่นเดียวกัน จะต้องมีหมายเลขประจำเครื่อง ซึ่งก็คือ IP Address นั่นเอง ข้อมูลที่ถูกส่งไปยังแต่ละเครื่อง (ต่อไปขอเรียกว่าโฮส) จะมีหมายเลข IP Address เพื่อบอกปลายทางที่จะติดต่อด้วยเสมอ IP Address ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เป็น IP version 4 หรือที่เรียกกันว่า IPv4 มีขนาด 4 byte แต่ละ byte มีขนาด 8 bit ดังนั้น IPv4 จึงมีขนาดเท่ากับ 32 bit เนื่องจากเป็นเลขฐานสอง เราคำนวณจำนวนโฮสได้จาก 2n ดังนั้นสามารถกำหนดหมายเลข IP Addressให้โฮสได้ทั้งหมด 232 = 4,294,967,296 โฮส แต่ก็ยังไม่พอใช้ นักพัฒนาจึงพัฒนา IP เป็น version 6 หรือ IPv6 ที่มีขนาด 128 bit และเริ่มนำมาเสริมกับ IPv4 ได้เป็น 2128
เมื่อ IP Address มีจำนวนมากขนาดนั้น เหตุผลหนึ่งคือเพื่อให้ง่ายต่อการจัดสรร จึงแบ่ง IPv4 ออกเป็น Class ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 5 Class ทำให้ง่ายต่อการจัดสรรขึ้นมาอีก
Class | IP เริ่มต้น | IP สิ้นสุด | NetID (bit) | HostID (bit) |
Class A | 0.0.0.0 | 127.255.255.255 | 8 | 24 = 16777216 |
Class B | 128.0.0.0 | 191.255.255.255 | 16 | 16 = 65536 |
Class C | 192.0.0.0 | 223.255.255.255 | 24 | 8 = 256 |
Class D | 224.0.0.0 | 239.255.255.255 | - | multicast address |
Class E | 240.0.0.0 | 247.255.255.255 | - | Reserve |
ตารางที่ 1 IP Address และจำนวนโฮสในแต่ละ Class
![]() | Class A มี NetID = 8 bit จาก IP Address ทั้งหมด 32 bit จึงเหลือ HostID 24 bit ทำให้มีจำนวนaddress ในเน็ตเวิร์คเดียวกันได้ทั้งหมด เท่ากับ 224 = 16777216 address |
![]() | Class B มี HostID เท่ากับ NetID ดังนั้นมีจำนวน address เท่ากับ 216 = 65536 |
![]() | Class C เป็น Class ที่เล็กที่สุดทีใช้งานกัน มี HostID 8 bit ทำให้มี address ได้เท่ากับ 28 = 256 |
![]() | Class D นั้นเป็น Multicast Address โดยสงวนไว้ใช้สำหรับอุปกรณ์ที่จะต้องมีการส่งข้อมูลในกลุ่มเดียวกัน |
![]() | Class E ท้ายสุดของ IPv4 สงวนไว้ใช้ในอนาคต เพื่อการพัฒนาขีดความสามารถของ IPv4 เอง |
IP Address | |
ฐานสิบ | ฐานสอง (32 bit) |
192.168.1.1 | 1100 0000 . 1010 1000 . 0000 0001 . 0000 0001 |
Subnet Mask | |
255.255.255.0 | 1111 1111 . 1111 1111 . 1111 1111 . 0000 0000 |
ตารางที่ 2 ตัวอย่างหมายเลข IP Address และ Subnet Mask
มาถึงเรื่องต่อไป คือคำว่า Private IP กับ Public IP กันบ้าง คำว่า Private IP หรือบางทีเรียกกันว่า Internal IP ผมให้นิยามไว้ให้หมายถึง IP Address ที่ไม่ใช้บน Internet และไม่สามารถติดต่อกับ Public IP ได้ แต่ไม่ใช่ซะทีเดียว เราสามารถใช้เทคนิค ที่เรียกว่า NAT (Network Address Translation) เข้าช่วยได้ Private IP นี้สามารถกำหนดขึ้นมาใช้ได้เอง โดยทั่วไปแล้วจะใช้กับ Intranet ในหน่วยงาน ในส่วนของ Public IP หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า Real IP นั้นใช้ในเครือข่าย Internet โดยจะต้องขอไปยังหน่วยงานที่กำกับดูแล IP Address ในแต่ละประเทศ ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละหน่วยงานที่ขอ IP Address ต้องได้หมายเลขที่ไม่ซ้ำกับใครเลยในโลกนี้ด้วยครับ ในประเทศไทยหน่วยงานที่กำกับดูแลคือ thnic.netClass | IP เริ่มต้น | IP สิ้นสุด | NetID (bit) | HostID (bit) |
Class A | 10.0.0.0 | 10.255.255.255 | 24 | 24 = 16777216 |
Class B | 172.16.0.0 | 172.32.255.255 | 16 | 16 = 65536 |
Class C | 192.168.0.0 | 192.168.255.255 | 8 | 8 = 256 |
ตัวอย่าง IP Address = 192.168.1.1/255.255.255.0
1. IP Address หรือ Host Address คือ 192.168.1.1
2. Subnet Mask คือหมายเลขหลังเครื่องหมาย "/" คือ 255.255.255.0 โดยมีความหมายว่า มีจำนวนโฮสในเน็ตเวิร์คเท่าไหร่ ใน Class C คำนวณจำนวนได้โดยการนำค่าจำนวน HostID ที่มีขนาดเท่ากับ 8 bit หรือเท่ากับ 28 = 256 ลบด้วยค่าสุดท้ายของ Subnet Mask จากตัวอย่างคือ 256 - 0 = 256 ดังนั้นจึงมีจำนวนโฮสทั้งหมดเท่ากับ 256 โฮส แต่ในหนึ่งเน็ตเวิร์คจะต้องมี Network Address และ Broadcast Address เสมอ จึงมีโฮสเท่ากับ 254 โฮส
3. Network Address บอกตำแหน่งเริ่มต้นของ IP Address ใน Class จากตัวอย่าง เป็นเน็ตเวิร์ค Class C ซึ่งมีโฮสทั้งหมดเท่ากับ 256 โฮส โดยมี IP Address เริ่มจาก 192.168.1.0 - 192.168.1.255 ดังนั้น Network Address คือ 192.168.1.0
4. Broadcast Address เป็นช่องทางของการส่งข้อมูลให้กับโฮสอื่นๆ เปรียบเสมือนการตะโกนเข้าไปในห้องที่มีคนอยู่รวมๆ กัน ซึ่งทำให้คนที่อยู่ในห้องได้ยินพร้อมๆ กันทั้งหมด โดย Broadcast Address จะเป็น IP Address สุดท้ายของเน็ตเวิร์คเสมอ จากข้อ 3 Broadcast Address จึงมีค่าเท่ากับ 192.168.1.255
มีการเขียน Subnet Mask อีกอย่างที่เห็นกันบ้างคือเขียนเป็นจำนวน bit เช่น 192.168.1.1/24 โดย 24 นี้ คือ NetID จาก 32 bit ของ IPv4 ทำให้เหลือ HostID เท่ากับ 8 bit (32 - 24) ดังนั้นจึงเขียน Subnet Mask เป็น /24 ซึ่งเท่ากับการเขียนโดยระบุ Subnet Mask 255.255.255.0
ทีนี้มารู้จักคำว่า Classless กัน มันหมายถึงการแบ่ง IP Class ต่างๆ ออกเป็นเน็ตเวิร์คย่อยๆ หรือเรียกได้อีกอย่างว่า แบ่งไม่เต็มคลาส ยกตัวอย่าง Network คลาส C ซึ่งถูกแบ่งเป็นเน็ตเวิร์คละ 128 โฮส เขียนได้เป็น 192.168.1.3/255.255.255.128 นี่แหละ Classless มาดูว่าจะศึกษาจาก IP Address ข้างต้นอย่างไร โดยเราใช้ความรู้เรื่องพื้นฐานก่อนหน้านี้มาใช้กันเลย
1. IP Address หรือ Host Address คือ 192.168.1.3
2. หาว่ามีจำนวนโฮสทั้งหมดกี่โฮส โดยการนำจำนวน 256 ซึ่งเป็นจำนวนโฮสสูงสุดของ Class C ลบด้วย ตัวสุดท้ายของ Subnet Mask คือ 256 - 128 = 128 โฮส
3. หาว่า Network Address มีค่าเท่าไหร่ โดยเอาที่เก็บไว้ในใจในข้อ 2 ออกมาซึ่งเท่ากับ 128 โฮส แล้วมาดู IP Address อย่างใกล้ชิด คอลเกต สังเกตเห็นว่า IP Address ตัวอย่าง มีค่าอยู่ในช่วงของเน็ตเวิร์คแอดเดรส 0-127 ดังนั้น Network Address ของ 192.168.1.3/255.255.255.128 คือ 192.168.1.0
4. Broadcast Address เท่ากับ Network Address + 128 ซึ่งเป็นจำนวนโฮสสูงสุดที่มีอยู่ใน Classless นี้ สำหรับ Broadcast นี้คือ 192.168.1.127 ถึงตอนนี้มีหลายคนสงสัย ผมบอกว่าให้เอา Network Address + จำนวนโฮส ก็เป็น 0+128 ทำไมได้ 127 (0 -127 มีทั้งหมด 128 ค่า ดังนั้น Address สุดท้ายจึงเป็น 192.168.1.127 )
มาถึงการเขียน Subnet Mask เป็น bit กันครับเริ่มโดยหาว่า 2 ยกกำลังเท่าไหร่ ถึงจะได้เท่ากับจำนวนโฮส (128) ? ซึ่งมีค่าเท่ากับ 27 = 128 หลังจากนั้นนำค่า 32 (bit) ลบด้วยค่าที่หาได้ คือ 7 (bit) เหลือ 25 (bit) ดังนั้น จึงเขียน Subnet Mask อีกรูปแบบได้เป็น 192.168.1.1/25 เป็นอันเสร็จ การเขียนแบบนี้จะเจอในผู้ที่เก๋าประสบการณ์ มีกฎอีกนิดสำหรับกฎการแบ่ง Classless คือ ต้องแบ่งเป็นจำนวนเท่ากับ 2n เท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น