วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ออปแอมป์ (Op-Amp)


 ออปแอมป์ (Op-Amp)


                ออปแอมป์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีอัตราขยายสูง (ขณะทำงานที่ลูปปิด) และควบคุมการทำงานได้จากองค์ประกอบภายนอก
รูปที่ 3.1


                รูปที่ 3.1 แสดงสัญลักษณ์ของออปแอมป์ (ไม่ได้แสดงส่วนของการไบอัส dc) ซึ่งประกอบด้วยขั้วอินพุต 2 ขั้ว (บวกและลบ) และขั้วเอาต์พุต 1 ขั้ว สัญญาณอินพุตแต่ละขั้วจะมีผลต่อสัญญาณเอาต์พุต
การทำงานของออปแอมป์แบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ การทำงานที่อินพุตด้านเดียวและการทำงานที่อินพุตสองด้าน


การทำงานที่อินพุตด้านเดียว(Single Ended Input)
การทำงานที่อินพุตด้านเดียว คือ การป้อนสัญญาณอินพุตที่ขั้วใดขั้วหนึ่ง ส่วนขั้วอินพุตที่เหลือต่อลงกราวด์ ดังรูปที่ 3.2
รูปที่ 3.2


                ถ้าป้อนสัญญาณอินพุตที่ขั้วบวกและต่อขั้วลบลงกราวด์ สัญญาณเอาต์พุตที่ได้รับการขยายกับสัญญาณอินพุตจะมีมุมอินเฟสกัน ดังรูป 3.2(a) ในทางตรงข้ามถ้าป้อนสัญญาณอินพุตที่ขั้วลบและต่อขั้วบวกลงกราวด์จะได้สัญญาณเอาต์พุตที่มีมุมต่างเฟสกับสัญญาณอินพุต 180 องศา ดังรูป 3.2(b)


การทำงานที่อินพุตสองด้าน (Double Ended Input)
การทำงานที่อินพุตสองด้าน คือการป้อนสัญญาณอินพุตทั้งสองด้าน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบดิฟเฟอเรนเชียล (Differential) และแบบโหมดร่วม (Common Mode)
การทำงานแบบดิฟเฟอเรนเชียล คือ การป้อนสัญญาณอินพุต 2 สัญญาณที่เป็นอิสระต่อกันให้กับขั้วอินพุตทั้งสอง ดังรูป 3.3(a)
รูปที่ 3.3


                เนื่องจากขั้วอินพุตของออปแอมป์เป็นบวกและลบ สัญญาณอินพุตจึงหักล้างกัน ดังนั้นสัญญาณเอาต์พุตจึงเกิดจากการขยายผลต่างของสัญญาณอินพุตทั้งสอง นั่นคือ Vd = V1 – V2 เขียนรูปใหม่เพื่อพิจารณาได้ดังรูป 3(b) สังเกตว่า สัญญาณอินพุตและเอาต์พุตอินเฟสกัน
การทำงานแบบโหมดร่วม คือ การป้อนสัญญาณอินพุตร่วมให้กับขั้วอินพุตทั้งสองของออปแอมป์ ดังรูป 3.4


 


 

รูปที่ 3.4


                ในทางอุดมคติ สัญญาณอินพุตทั้ง 2 ขั้วต้องได้รับการขยายเท่ากัน ทำใหเกิดสัญญาณที่มีขั้วตรงข้ามกันที่อินพุต สัญญาณเหล่านี้หักล้างกันแล้วหยุดหายไป สัญญาณเอาต์พุตจึงเป็น 0 V แต่ในทางปฏิบัติยังมีสัญญาณเอาต์พุตเหลืออยู่เล็กน้อย ซึ่งเราเรียกว่า “สัญญาณโหมดร่วม”


การขจัดสัญญาณโหมดร่วม(Common Mode Rejection)
เราทราบว่า การทำงานแบบดิฟเฟอเรนเชียลมีอัตราขยายสัญญาณสูง แต่ถ้าการทำงานเป็นแบบโหมดร่วมยังมีสัญญาณเอาต์พุตอยู่บ้างเล็กน้อย จึงสันนิษฐานได้ว่า ขณะทำงานแบบดิฟเฟอเรนเชียลจะต้องมีสัญญาณโหมดร่วมปนอยู่กับสัญญาณเอาต์พุตด้วย ลักษณะเช่นนี้สัญญาณเอาต์พุตที่ได้จึงไม่เป็นไปตามความต้องการ ดังนั้นการออกแบบวงจรภายในออปแอมป์จึงพยายามขจัดสัญญาณโหมดร่วม ให้มีค่าน้อยที่สุด
สรุปว่า อัตราขยายแรงดันเอาต์พุตของออปแอมป์ประกอบด้วย อัตราขยายแรงดัน 2 ส่วนคือ อัตราขยายที่เกิดจากแรงดันดิฟเฟอเรนซ์ ซึ่งเรียกว่า อัตราขยายดิฟเฟอเรนเชียล กับอัตรขยายที่เกิดจากแรงดันร่วม ซึ่งเรียกว่า อัตราขยายโหมดร่วม
แรงดันดิฟเฟอเรนซ์ (Difference Voltage : Vd)
Vd เป็นแรงดันไฟฟ้าที่เกิดจาก ผลต่างระหว่างสัญญาณอินพุตที่ป้อนให้ขั้วของออปแอมป์
แรงดันร่วม (Common Voltage : VC)
VC เป็นแรงดันไฟฟ้าที่เกิดจาก ค่าเฉลี่ยของผลรวมของสัญญาณอินพุตที่ป้อนให้ขั้วออปแอมป์
สำหรับวงจรการใช้งานอย่างง่ายของออปแอมป์มีลักษณะดังรูป 3.5

รูปที่ 3.5


หลักการพื้นฐานของออปแอมป์ (Op-Amp  Basics
ออปแอมป์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีอัตราขยายและอิมพีแดนซ์อินพุต Zi หรือ Ri สูงมาก (มักมีค่าเป็น MW) และมีอิมพีแดนซ์เอาต์พุต Zo หรือ Ro ต่ำ (ต่ำกว่า 100W ) วงจรอย่างง่ายของออปแอมป์ประกอบด้วยขั้วอินพุต 2 ขั้ว และขั้วเอาต์พุต 1 ขั้ว ดังรูป 3.6
รูปที่ 3.6
เราทราบว่า ถ้าจ่ายสัญญาณอินพุตให้กับขั้วบวกของออปแอมป์ จะได้สัญญาณเอาต์พุตที่มีมุมอินเฟสกับสัญญาณอินพุต แต่ถ้าจ่ายสัญญาณอินพุตให้กับขั้วลบของออปแอมป์ จะได้สัญญาณเอาต์พุตที่มีมุมต่างเฟสกับสัญญาณอินพุต 180 องศา หรือมีมุมตรงข้ามกัน
จากหลักกากรในหัวข้อ การขจัดสัญญาณโหมดร่วม ทำให้เขียนวงจรเทียบเคียง ac ของออปแอมป์ในทางปฏิบัติได้ ดังรูป 7(a) ส่วนวงจรเทียบเคียง ac ของออปแอมป์ในอุดมคติ (กำหนดให้ Ri = a และ Ro = 0 ) เป็นดังรูป7(b)
รูปที่ 3.7
นำวงจรเทียบเคียงของออปแอมป์มาประกอบเข้ากับวงจรในรูป 3.5 จะได้วงจรเทียบเคียงในทางปฏิบัติดังรูป 3.8(a)


รูปที่ 3.8


การใช้งานออปแอมป์
ออปแอมป์นำมาประกอบเป็นวงจรได้หลายประเภท  โดยจะกล่าวถึงการนำออปแอมป์ไปใช้ในวงจรบางประเภท ได้แก่ วงจรขยายกลับเฟส , วงจรขยายไม่กลับเฟส , วงจรขยายรวมสัญญาณ 
                วงจรขยายกลับเฟส(Inverting Amplifier)
วงจรขยายซึ่งมีอัตราขยายคงที่ และได้รับความนิยมมากแบบหนึ่งคือ วงจรขยายกลับเฟส ดังรูป 3.9
รูป 3.9


หาค่า Vo ได้โดยการคูณ Vl ด้วยอัตราส่วนของความต้านทานป้อนกลับ (Rf)ต่อความต้านทานอินพุต (Ri) ดังสมการ
เครื่องหมายลบในสมการแสดงว่า สัญญาณอินพุตกับสัญญาณเอาต์พุตมีมุมต่างเฟสกัน 180 องศา
วงจรขยายไม่กลับเฟส (Noninverting Amplifier)
วงจรขยายไม่กลับเฟสมีลักษณะดังรูป 3.10(a) เขียนวงจรเทียบเคียงกราวด์เสมือนได้ดังรูป 3.10(b)
รูปที่ 3.10
เนื่องจาก Vi = 0 จึงหาค่า Vl ได้โดยใช้กฎการแบ่งแรงดันไฟฟ้า
วงจรตามสัญญาณยูนิตี (Unity Follower)
วงจรตามสัญญาณยูนิตี คือ วงจรที่มีอัตราขยายเท่ากับ 1 และมีลักษณะดังรูป 3.11(a) วงจรตามสัญญาณยูนิตีนี้มีสัญญาณ Vo กับ Vl อินเฟสกัน  เขียนวงจรเทียบเคียงกราวด์เสมือนได้ดังรูป 3.11(b)
รูปที่ 3.11


 


 


 


 


วงจรขยายรวมสัญญาณ(Summing Amplifier)
วงจรขยายรวมสัญญาณ คือ วงจรขยายที่ให้ค่า Vo เท่ากับผลรวมของอัตราขยายสัญญาณอินพุตแสดงให้เห็นได้ดังรูป 3.12
รูปที่ 3.12
วงจรขยายรวมสัญญาณในรูป 3.12(a) มีสัญญาณอินพุต 3 สัญญาณ เขียนวงจรเทียบเคียงกราวด์เสมือนได้ดังรูป3.12(b) ค่าแรงดันเอาต์พุตเกิดจากผลรวมของอัตราขยายสัญญาณอินพุตทั้งสาม
แหล่งที่มาของเนื้อหา

ชื่อหนังสือ : อิเล็กทรอนิกส์ 2
ชื่อผู้แต่ง : นายมงคล ทองสงคราม

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ระบบเครือข่ายแบบ LAN


ระบบเครือข่ายแบบ LAN
  • ชนิดการเชื่อมต่อของเครือข่าย LANการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเฉพาะบริเวณแลนนั้น จุดประสงค์หลักอย่างหนึ่งก็คือการแบ่งกันใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ โดยทรัพยากรเหล่านั้นอาจเป็นหน่วยประมวลผลกลาง CPU ความเร็วสูง ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ หรือแม้แต่อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะเชื่อมอยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง วิธีการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดสรรการใช้งานทรัพยากรในระบบเครือข่ายสามารถจำแนกได้เป็น 2 รูปแบบคือ
    • เครือข่ายแบบพึ่งเครื่องบริการ (Server - based networking)เป็นการเชื่อมต่อโดยมีเครื่องบริการอยู่ศูนย์กลาง ทำหน้าที่ในการให้บริการต่าง ๆ ที่เครื่องผู้ใช้หรือสถานีงาน (Workstation) ร้องขอ รวมทั้งเป็นผู้จัดการดูแลการจราจรในระบบเครือข่ายทั้งหมด นั่นคือการติดต่อกันระหว่างเครื่องต่าง ๆ จะต้องผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เครื่องผู้ใช้จะทำการประมวลผลในงานของตนเท่านั้น ไม่มีหน้าที่ในการให้บริการกับเครื่องอื่น ๆ ในระบบ
      เครื่องผู้บริการในระบบเครือข่ายชนิดนี้อาจมีได้ 2 รูปแบบคือ
      • เครื่องบริการแบบอุทิศ (Dedicated Server) หมายถึงเครื่องบริการทำหน้าที่บริการอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในงานทั่ว ๆไปได้ ข้อดีคือทำให้ระบบมีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพสูง ข้อเสียคือไม่สามารถใช้งานเครื่องที่มีราคาสูงได้
      • เครื่องบริการแบบไม่อุทิศ (Non - Dedicated Server) หมายถึงเครื่องบริการยังสามารถใช้งานได้ตามปกติเหมือนเครื่องลูกข่าย ซึ่งมีข้อเสียที่สำคัญคือมีประสิทธิภาพของเครือข่ายจะลดลง ทำให้วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมในการใช้งาน
    • เครือข่ายแบบเท่าเทียม (Peer - to Peer networking)
    เป็นการเชื่อมต่อที่เครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายมีสถานะเท่าเทียมกันหมด โดยเครื่องทุกเครื่องสามารถเป็นได้ทั้งเครื่องผู้ใช้และเครื่องบริการในขณะใดขณะหนึ่ง นั่นคือเครื่องทุกเครื่องเปรียบเสมือนกับเป็นเครื่องบริการแบบไม่อุทิศ (Non - Dedicated Server) นั่นเอง ในระบบเครือข่ายประเภทนี้การติดต่อระหว่างแต่ละเครื่องจะสามารถติดต่อกันได้โดยตรง มีข้อเสียคือประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลด้อยกว่าแบบแรก ทำให้ไม่เหมาะกับระบบที่มีการใช้งานการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายมาก ๆ
Network
Advantages
Disadvantages
Server - Based
  • มีประสิทธิภาพสูงกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นแบบ Dedicates Server
  • การดูแลระบบสามารถทำได้ง่ายกว่า
  • เสียค่าใช้จ่ายสูงสำหรับเครื่อง server โดยเฉพาะอย่างยิ่งหารเป็นแบบ Dedicates Server ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้งานอย่างอื่นได้
  • ไม่สามารถใช้งานทรัพยากรที่เชื่อมอยู่กับ Workstation ได้
  • ถ้า Server เสียระบบจะหยุดหมด
Peer - to - Peer
  • สามารถใช้งานทรัพยากรซึ่งเชื่อมอยู่กับเครื่องใด ๆ ในเครือข่าย
  • ประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของ Server
  • สามารถกระจายโปรแกรมประยุกต์ไปไว้ยังเครื่องต่าง ๆ เพื่อลดการจราจรในเครือข่ายได้
  • การดูแลระบบทำได้ยาก เนื่องจากทรัพยากระกระจัดกระจายกันไปในเครื่องต่าง ๆ
  • มีประสิทธิภาพที่ต่ำกว่าแบบ Server - based มาก
  • เครื่องทุกเครื่องต้องมีหน่วยความจำและประสิทธิภาพสูงกว่าเครื่อง ในแบบ Server - based
เปรียบเทียบการเชื่อมต่อแบบ Server - based เทียบกับ Peer - to Peer

  • ส่วนประกอบพื้นฐานของระบบ LAN
  • Network Operating System (NOS)ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System) มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของเครือข่าย เช่นเดียวกับการที่ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง ซึ่งในเครือข่ายแบบ Peer - to - Pear เช่น Windows for Workggroups จะมีระบบปฏิบัติการเครือข่ายอยู่ในเครื่องทุกเครื่องของเครือข่าย ในขณะที่ในเครือข่ายแบบ Serverbased เช่น netware หรือ Window NT นั้น ระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่ที่เครื่อง Server ในขณะที่ workstation จะใช้ซอร์ฟแวร์ขนาดเล็กอีกตัวในการติดต่อรับ - ส่งข้อมูลกับ Server
  • เครื่องบริการและสถานีงาน (Server and Workstation)
ก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประกอบกันเป็นเครือข่ายนั้นเอง โดยเครื่องบริการจะเป็นเครื่องหลักที่มีหน้าที่ให้บริการต่าง ๆ แก่สถานีงานหรือโหนด ซึ่งบริการหลัก ๆ ก็คือบริการแฟ้มข้อมูล บริการเครื่องพิมพ์ บริการแฟกซ์ บริการฐานข้อมูล เป็นต้น ส่วน นั้นก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้ใช้ในการติดต่อเข้าเครือข่ายนั้นเอง
  • แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (Netwoirk Interface Card - NIC)
จะเป็นอุปกรณ์ที่เป็นแผงวงจรสำหรับเสียบเข้าช่องต่อขยาย (expansion bus) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถต่อสายของเครือข่ายเข้ามาและทำการติดต่อส่งข้อมูลกับเครือข่ายได้
  • ระบบการเดินสาย (Cabling System)
ระบบการเดินสายจะเป็นสื่อที่เชื่อมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจจะประกอบด้วยสายต่าง ๆ คือ UTP/STP , Coaxial , Fiber Optic หรือแม้แต่การเชื่อมกันแบบไร้สาย เช่น Infared หรือสัญญาณวิทยุก็ได้
  • ทรัพยากรและอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกัน (Shared Resources and Peripherals)
จะรวมถึงอุปกรณ์หน่วยความจำถาวร เช่น อาร์ดดิสก์ หรือเทปที่ต่ออยู่กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ตลอดจนเครื่องพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งผู้ใช้ในเครือข่ายที่ได้รับอนุญาตสามารถใช้งานได้
  • โครงสร้างของระบบเครือข่าย (Network Topology) แบบ LAN
ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าเป็นระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN) สามารถออกแบบการเชื่อมต่อกันของเครื่องในเครือข่าย ให้มีโครงสร้างในระดับกายภาพได้ในหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ดังนี้
  • โครงสร้างแบบดาว (Star Topology)
เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง การรับส่งข้อมูลทั้งหมดจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสมอ มีข้อดีคือการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบกระเทือนกับเครื่องอื่นในระบบเลย แต่ข้อเสียคือมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสูงและถ้าคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสียระบบเครือข่ายจะหยุดชะงักทั้งหมดทันที
  • โครงสร้างแบบบัส (Bus Topology)
เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์แต่ละตัวด้วยสายเคเบิลที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งสายเคเบิลหรือบัสนี้เปรียบเสมือนกันถนนที่ข้อมูลจะส่งผ่านไปมาระหว่างแต่ละเครื่องได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องผ่านไปที่ศูนย์กลางก่อน โครงสร้างแบบนี้มีข้อดีที่ใช้สายน้อย และถ้ามีเครื่องเสียก็ไม่มีผลอะไรต่อระบบโดยรวม ส่วนข้อเสียก็คือตรวจหาจุดที่เป็นปัญหาได้ยาก
  • โครงสร้างแบบแหวน (Ring Topology)
เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเข้าเป็นวงแหวน ข้อมูลจะถูกส่งต่อ ๆ กันไปในวงแหวนจนกว่าจะถึงเครื่องผู้รับที่ถูกต้อง ข้อดีของโครงสร้างแบบนี้คือ ใช้สายเคเบิลน้อย และสามารถตัดเครื่องที่เสียออกจากระบบได้ ทำให้ไม่มีผลต่อระบบเครือข่าย ข้อเสียคือหากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงานได้เลย และการเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลงก่อน
  • วิธีควบคุมการเข้าใช้งานสื่อกลาง (Media Access Control (MAC) Methed)
วิธีในการควบคุบการเข้าใช้งานสื่อกลาง (Media Access Control Methed) จะเป็นข้อตกลงที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลผ่านสื่อกลาง (ในที่นี้ก็คือสายเคเบิลของเครือข่ายแบบ LAN) ซึ่งทุกโหนดในเครือข่ายจะต้องใช้มาตรฐานเดียวกัน การทำงานจะเกิดอยู่ในส่วนของแผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (NIC) และทำงานอยู่ครึ่งท่อนล่างของ Data link Layer คือส่วน MAC Layer
วิธีในการเข้าใช้งานสื่อกลางจะมีอยู่หลายวิธี ซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีข้อดีข้อเสียและเหมาะสมกับโทโปโลยีต่าง ๆ กันไป ที่นิยมใช้กันในปัจจบันคือ
  • CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Acess/Collision Detection)
เป็นวิธีที่ทุกโหนดของเครือข่ายสามารถเห็นข้อมูลที่ไหลอยู่ในสายสื่อสารของเครือข่าย แต่จะมีแต่โหนดปลายทางที่ระบุไว้เท่านั้นที่จะทำการคัดลอกข้อมูลขึ้นไป ในการส่งข้อมูลด้วยวิธีนี้ ทุกโหนดที่ต้องการส่งข้อมูลจะต้องทำการตรวจสอบสายสื่อสารว่าว่างหรือไม่ หากสายไม่ว่งวโหนดก็ต้องหยุดรอและทำการสุ่มตรวจเข้าไปใหม่เรื่อย ๆ จนเมื่อสัญญาณตอบกลับว่าว่างแล้ว จึงสามารถส่งข้อมูลเข้าไปได้ แต่อย่างไรก็ดี อาจมีกรณีที่ 2 โหนดส่งสัญญาณเข้าไปพร้อมกัน ทำให้เกิดการชนกัน (collision) ขึ้น หารกเกิดกรณีนี้ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องหยุดส่งข้อมูล และรออยู่ระยะหนึ่ง ซึ่งโหนดที่สุ่มได้ระยะเวลาที่น้อยที่สุดก็จะทำการส่งก่อน หากชนก็หยุดใหม่ ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะส่งได้สำเร็จ วิธีการใช้สื่อกลางชนิดนี้จะพบมากในโครงสร้างแบบบัส
  • Token Passing
เป็นวิธีการที่ใช้หลักการของ ซึ่งเป็นกลุ่มของบิตที่วิ่งวนไปตามโหนดต่าง ๆ รอบเครือจ่าย แต่ละโหนดจะตอยตรวจสอบรับข่าวสารที่ส่งมาถึงตนจากใน และในกรณีที่ต้องการส่งข้อมูลก็จะตรวจสอบว่า ว่างอยู่หรือไม่ หากว่างอยู่ก็จะทำการใส่ข้อมูลพร้อมระบุปลายทางเข้าไปใน นั้น และปล่อยให้ วิ่งวนต่อไปในเครือข่าย วิธีในการเข้าใช้สื่อชนิดนี้จะพบมากในโรงสร้างแบบบัส (Token Bus) และแบบวงแหวน (Token ring)
  • มาตรฐานระบบเครือข่ายแบบ LAN ชนิดต่าง ๆ
โดยปกติแล้ว ในการออกแบบการเชื่อมต่อระบบ Lan จะต้องคำนึงถึงลักษณะโครงสร้าง (Topology) สื่อกลาง (Media) และวิธีในการเข้าใช้สื่อกลาง (Media Access Methed) ซึ่งจะมีความเหมาะสมในการนำมาประกอบกันเพื่อใช้งานแตกต่างกันไป อย่างไรก็ดี เพื่อให้การเชื่อมต่อระบบ มีมาตรฐานและสามารถใช้งานได้อย่างกว้างขวาง ทำให้มีองค์กรกำหนดมาตรฐานได้กำหนดมาตรฐานของระบบเครือข่ายแบบต่าง ๆ ออกมา ซึ่งมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับและมีการใช้งานอย่างกว้างขวางคือ
  • IEEE 802.3 และ Ethernetระบบเครือข่าย Ethernet ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทซีรอกซ์ในปลายทศวรรษ 1970 และในปี 1980 บริษัท Digital Equipment , Intel และ Xeror ได้ร่วมกันออกระบบ Ethernet I ซึ่งใช้งานกับสาย และต่อมาในปี ก็ได้ทำการพัฒนาเป็น Ethernet II ซึ่งเป็นระบบเครือข่ายที่ถูกใช้งานมากที่สุดแบบหนึ่ง จากนั้นองค์กรมาตรฐาน จึงได้ออกข้อกำหนดมาตรฐาน IEEE 802.3 โดยใช้ Ethernet II เป็นรากฐาน โดยมีจุดแตกต่างจาก เล็กน้อย แต่หลักการใหญ่ ๆ จะคล้ายคลึงกัน คือ ใช้ Access Method และ CSMA/CD และใช้ Topology แบบ Bus หรือ Star (Ethernet II จะเป็น Bus เท่านั้น)
    นอกจากมาตรฐาน IEEE 802.3 ยังได้ร่างมาตรฐานการใช้สื่อในระดับกายภาพ (Physical) แบบต่าง ๆ ทำให้สามารถใช้สายเคเบิลในระดับการยภาพแบบได้หลายแบบ โดยไม่ต้องเปลี่ยสในส่วยของ Data link ขึ้นไป เช่น 10Base5 , 10BaseT โดย "10" หมายถึงความเร็ว 10 Mbps ส่วน "Baseband" หมายถึง ("Borad" คือ Boardband) และในส่วนสุดท้ายนั้น ในช่วงแรก "5" หมายวถึงระยะไกลสุดที่สามารถเชื่อมต่อมีหน่วยเป็นเมตรคูณร้อย ในที่นี้คือ 500 เมตร แต่ต่อมาได้มีการใช้ความหมายของส่วสนนี้เพิ่มเติมเป็นชนิดของสาย เช่น "T" หมายถึง ใช้สาย Twisted Pair และ "F" หมายถึง Fiber
    ในปัจจบัน ยังมีมาตรฐาน IEEE 802.3 ซึ่งได้ขยายครอบคลุมความเร็วระดับ 100 Mbps ด้วย นั่นคือ มาตรฐาน Fast Ethernet โดยจะประกอบด้วย 100BaseTX ซึ่งเป็นสาย UTP Category 5 เชื่อมต่อได้ไกล 100 เมตรต่อเซกเมนต์ และ 100BaseFX ซึ่งใช้สาย เชื่อมต่อได้ไกลถึง 412 เมตรต่อเซกเมนต์ นอกจากนี้ ทาง IEEE ยังกำลังพิจารณาร่างมาตรฐาน 802.3z หรือ Gigabit Ethernet โดยการทำการขยายความเร้ซในการเชื่อต่อขึ้นไปถึง 1000 Mbps (1 Gigabit/seconds)
  • IEEE 802.4 และ Token Bus
ระบบเครื่อข่ายแบบ Token Bus จะใช้ Access Protocal แบบ Token Passing และ Topology ทางกายภาพเป็นแบบ Bus แต่จะมีการใช้โทโปโลยีทางตรรกเป็นแบบ Ring เพื่อให้แต่ละโหนดรู้จัดตำแหน่งของตนเองและโหนดข้างเคียง จึงทำการผ่าน Token ได้อย่างถูกต้อง
  • IEEE 802.5 และ Token Ring
ระบบเครือข่ายแบบ Token Ring ได้รับการพัฒนาโดย IBM จะใช้ Access Method แบบ Token Passing และTopology แบบ Ring สามารถใช้ได้กับกับสาย STP,UTP,Coaxial และ Fiber Optic มาตรฐานความเร็วจะมี 2 แบบ คือ 4 Mbps และ 16 Mbps
  • FDDI (Fiber Distributed Data Interface)
เป็นมาตรฐานเครือข่ายความเร็วสูงที่พัฒนาขึ้นโดย ANSI (American Nation Stadards Instiute) ทำงานที่ความเร็ว 100 Mbps ใช้สายเคเบิลแบบ Fiber Optic ใช้ Access Method แบบ Token-passing และใช้ Topology แบบ วงแหวนคู่ (Dual Ring) ซึ่งช่วยทำให้ทนทานต่อข้อบกพร่อง (fault tolerance) ของระบบเครือข่ายได้ดีขึ้น โดยอาจใช้ Ring หนึ่งเป็น Backup หรืออาจใช้ 2 Ring ในการรับส่งข้อมูลก็ได้
  • โปรโตคอลของระบบเครือข่าย (Network Protocal)
โปรโตคอลของระบบเครือข่าย (Network Protocal) หรือที่นิยมเรียกกันว่า โปรโตคอลสแตก (Protocal stack) ก็คือชุดชองกฎหรือข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อให้แต่ละสถานีในเครือข่ายสามารถรับส่งข้อมูลระหว่ากันได้อย่างถูกต้อง โดยโปรโตคอลของระบบเครือข่ายส่วนมากจะทำงานอยู่ในระดับ และ ใน และทำหน้าที่ในการประสานงานระหว่าแผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย (NIC) กับ ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (NOS)
ระบบเครือข่ายที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน จะมีโปรโตคอลสแตกที่ได้รับความนิยมใช้งานกันอยู่หลายโปรโตคอล ซึ่งแต่ละโปรโตคอลก็จะใช้จัดการในงานของเครือข่ายคล้าย ๆ กัน และในกรณีที่ระบบเครือข่ายเชื่อมอยู่กับคอมพิวเตอร์หลายแบบ จะสามารถใช้งานหลาย ๆ โปรโตคอลแสตก พร้อมกันผ่านเครือข่ายได้ เช่น ใช้ IPX/SPX สำหรับ Network และใช้ TCP/IP ในการติดต่อกับ UNIX ผ่าน LAN แบบ Ethernet พร้อม ๆ กัน เป็นต้น
ตัวอย่างของโปรโตคอลแสตกที่มีใช้งานอยู่ในปัจจุบัน คือ
  • NetBIOS และ NetBUIEโปรโตคอล NetBIOS (Network Basic INput/Output System) พัมนาร่วมกันโดย IBM และ Microsoft มีการใช้งานอยู่ในเครือข่าย หลาย ๆ ชนิด อย่างไรก็ดี NetBIOS เป็นโปรโตคอลที่ทำงานอยู่ในระดับ Session Layer เท่านั้น จึงไม่ได้เป็นโปรโตคอลสำหรับเครือข่ายโดยสมบูรณ์ จึงได้พัฒนาโปรโตคอล NetBUIE (Network Extended User Interface) ซึ่งเป็นส่วนขยายเพิ่มเติมของ NetBIOS ที่ทำงานอยู่ใน Network Layer และ Transport Layer จะพบการใช้งานได้ใน Windows for Workgroups และ Windows NT
  • IPX/SPXเป็นโปรโตคอลของบริษัท Novell ซึ่งพัฒนาขึ้นมาใช้กับ Netware มีพื้นฐานมาจากโปรโตคอล XNS (Xerox Network Services) ของบริษัท Xerox โปรโตคอล IPX (Internerworl Packet Exchange) จะเป็นโปรโตคอลที่ทำงานอยู่ใน Network Layer ใช้จัดการการแลกเปลี่ยน packet ภายใน Network ทั้งในส่วนของการหาปลายทางและการจัดส่ง packet ส่วน SPX (Sequenced Packet Exchange) จะเป็นโปรโตคอลที่ทำงานอยู่ใน Transport Layer โดยมีหน้าที่ในการจัดการให้ข้อมูลส่งไปถึงจุดหมายได้อย่างแน่นอน
  • TCP/IP
เป็นโปรโตคอลที่ได้รับการพัฒนามาจากทุนวิจัยของ U.S. Department of Defense's Advanced Research Project Agency (DARPA) ได้รับการใช้งานกันมากใน Internet และระบบ UNIX แบบต่าง ๆ ทำให้อาจกล่าวได้ว่าเป็นโปรโตคอลที่ได้รับความนิยมสูงสุดในขณะนี้ โดยมีการใช้งานมากทั้งใน LAN และ WAN โปรโตคอล TCP/IP จะเป็นชุดของโปรโตคอลซึ่งรับหน้าที่ในส่วนต่าง ๆ กัน และมีการแบ่งเป็น 2 ระดับ (layer) คือ

    ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network, LAN)


    ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network, LAN)
                  เป็นเครือข่ายการติดต่อสื่อสารที่ใช้ในสถานที่จำกัด  เพื่อให้ผู้ใช้แต่ละคนสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและแบ่งกันใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ร่วมกันได้
    วัตถุประสงค์ของการใช้งานในระบบแลน (Local Area Network, LAN)
    • ต้องการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่อยู่ใกล้กัน
    • ต้องการแบ่งปันทรัพยากรต่างๆเพื่อใช้ร่วมกัน เช่นอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์บางชนิดมีราคาสูงมาก
     รูปแบบของการเชื่อมโยงเครือข่าย หรือโทโปโลยี (LAN Topology)
              โทโปโลยีคือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของเครือข่าย  ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง  โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งานแตกต่างกัน  จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ  ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ  เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่ายให้เหมาะสมกับการใช้งาน  รูปแบบของโทโปโลยีของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้

    โทโปโลยีรูปดาว (Star)
               เป็นหลักการส่งและรับข้อมูลเหมือนกับระบบโทรศัพท์ การควบคุมจะทำโดยสถานีศูนย์กลาง ทำหน้าที่เป็นตัวสวิตชิ่ง  ข้อมูลทั้งหมดในระบบเครือข่ายจะต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง  (Center Comtuper)
               เป็นการเชื่อมโยงการติดต่อสื่อสารที่มีลักษณะคล้ายกับรูปดาว (STAR)  หลายแฉก โดยมีศูนย์กลางของดาว  หรือฮับเป็นจุดผ่านการติดต่อกันระหว่างทุกโหนดในเครือข่าย  ศูนย์กลางจึงมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมดภายใน  นอกจากนี้ศูนย์กลางยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลอีกด้วย การสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ STAR  จะเป็นแบบ  2  ทิศทางโดยจะอนุญาตให้มีเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายได้  จึงไม่มีโอกาสที่หลาย ๆ โหนดจะส่งข้อมูลเข้าสู่เครือข่ายในเวลาเดียวกัน  เพื่อป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูล  เครือข่ายแบบ STAR  เป็นโทโปโลยีอีกแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน 
              ข้อดี ของเครือข่ายแบบ STAR คือการติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย  หากมีโหนดใดเกิดความเสียหายก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย  และศูนย์กลางสามารถตัดโหนดนั้นออกจากการสื่อสารในเครือข่ายได้
     
     


     
              ข้อเสีย ของเครือข่ายแบบ  STAR คือเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางมีราคาแพง  และถ้าศูนย์กลางเกิดความเสียหายจะทำให้ทั้งระบบทำงานไม่ได้เลย  นอกจากนี้เครือข่ายแบบ STAR  ยังใช้สายสื่อสารมากกว่าแบบ  BUS  และ แบบ RING

    โทโปโลยีแบบบัส (Bus)
                โทโปโลยีแบบบัสต่างกับโทโปโลยีแบบดาว  ตรงที่แบบดาวเมื่อมีสถานีงานจำนวนมากเท่าใด จำนวนสายสัญญาณก็จะมากขึ้นเท่านั้น
                ในระบบเครือข่าย LAN โทโปโลยีแบบ BUS   นับว่าเป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ  ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย  ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อน  ลักษณะการทำงานของเครือข่ายโทโปโลยีแบบ BUS คืออุปกรณ์ทุกชิ้นหรือโหนดทุกโหนด ในเครือข่ายจะต้องเชื่อมโยงเข้ากับสายสื่อสารหลักที่เรียกว่า  "บัส"  (BUS)เมื่อโหนดหนึ่งต้องการจะส่งข้อมูลไปให้ยังอีกโหนด หนึ่งภายในเครือข่าย  ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ  ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบด้วยตำแหน่งของผู้ส่งและผู้รับ  และข้อมูล  การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ  2  ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัสจะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator)    ทำหน้าที่ดูดกลืนสัญญาณ  เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก     เป็นการป้องกันการชนกันของสัญญาณข้อมูลอื่น ๆ  ที่เดินทางอยู่บนบัส 
                 สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัสจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง  2  ข้างของบัส  แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับ บัสจะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่  ถ้าใช่ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนดตน  แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป  จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนด ปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้ การควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่ายแบบ BUS มี   2  แบบคือ
                1. แบบควบคุมด้วยศูนย์กลาง (Centralized)  ซึ่งจะมีโหนดหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการสื่อสารภายในเครือข่าย  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์ 
                2. การควบคุมแบบกระจาย  (Distributed)  ทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายจะมีสิทธิในการควบคุมการสื่อสารแทนที่จะ เป็นศูนย์กลางควบคุมเพียงโหนดเดียว  ซึ่งโดยทั่วไปคู่โหนดที่กำลังทำการส่ง-รับข้อมูลกันอยู่จะเป็นผู้ควบคุมการสื่อสารในเวลานั้น
                ข้อเสีย  อย่างหนึ่งของเครือข่ายแบบ BUS คือการไหลของข้อมูลที่เป็น  2 ทิศทางทำให้ระบุจุดที่เกิดความเสียหายในบัสยาก  และโหนดที่ถัดต่อไปจากจุดที่เกิดความเสียหายจนถึงปลายของบัสจะไม่สามารถทำการสื่อสารข้อมูลได้ แต่โหนดที่อยู่ก่อนหน้าจุดเสียหายจะยังคงสื่อสารข้อมูลได้
    โทโปโลยีรูปวงแหวน (Ring)
                  เครือข่ายแบบ RING  เป็นการสื่อสารที่ส่งผ่านไปในเครือข่าย ข้อมูลข่าวสารจะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปในทิศทางเดียวเหมือนวงแหวน  หรือ RING นั่นเอง  โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ  BUS  ในแต่ละโหนดหรือสเตชั่นจะมีรีพีตเตอร์ประจำโหนด  1  เครื่อง  ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข่าวสารที่จำเป็นต่อการสื่อสาร ในส่วนหัวของแพ็กเกจ  ข้อมูลสำหรับการส่งข้อมูลออกจากโหนด  และมีหน้าที่รับแพ็กเกจข้อมูลที่ไหลผ่านมาจากสายสื่อสาร เพื่อตรวจสอบว่าเป็นข้อมูลที่ส่งมาให้โหนดตนหรือไม่  ถ้าใช่ก็จะคัดลอกข้อมูลทั้งหมดนั้นส่งต่อไปให้กับโหนดของตน  แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยังรีพีตเตอร์ของโหนดถัดไป

                  ข้อดี ของเครือข่ายแบบ  RING  คือผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ โหนดพร้อมกัน  โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล  รีพีตเตอร์ของแต่ละโหนดจะทำการตรวจสอบเอง ว่ามีข้อมูลส่งมาให้ที่โหนดตนเองหรือไม่  การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ  RING  จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากโหนดสู่โหนด  จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณข้อมูล
                  ข้อเสีย คือ ถ้ามีโหนดใดโหนดหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย  ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังโหนดต่อไปได้  และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่ายขาดการติดต่อสื่อสารได้  ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งคือขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละโหนด เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ รีพีตเตอร์จะต้องทำการคัดลอกข้อมูล  และตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูล  อีกทั้งการติดตั้งเครือข่ายแบบ RING  ก็ทำได้ยากกว่าแบบ  BUS  และใช้สายสื่อสารมากกว่า
     การเชื่อมโยง เครือข่ายของระบบ LAN
              มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเพียง โครงข่ายของระบบเครือข่าย (Topology) และ โพรโตคอล ที่ใช้ในระบบ LAN และจะกล่าวถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ LAN และซอฟต์แวร์ ที่ใช้ในระบบ LAN มีดังต่อไปนี้
      3.1 โครงข่ายของระบบเครือข่าย(Topology)
      3.2 โพรโตคอลที่ใช้ในระบบ LAN
      3.3 อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ LAN
      3.4 ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในระบบ LAN
      .
      3.1 โครงข่ายของระบบเครือข่าย (Topology)           เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายของระบบ LAN วิธีหนึ่ง ซึ่งนิยมใช้กันแพร่หลายสามารถแบ่งออกเป็น 3 แบบด้วยกัน คือ
        3.1.1 แบบดาว (Star)
        3.1.2 แบบวงแหวน (Ring)
        3.1.3 แบบบัส และ ทรี (Bus and Tree)
        3.1.1 แบบดาว (Star)           ในโทโปโลยี แบบดาว นั้นจะเป็นลักษณะของการต่อเครือข่ายที่ Work station แต่ละตัวต่อรวมเข้าสู่ศูนย์กลางสวิตซ์ เพื่อสลับตำแหน่งของเส้นทางของข้อมูลใด ๆ ในระบบ ดังนั้นใน โทโปโลยี แบบดาว คอมพิวเตอร์จะติดต่อกันได้ใน 1 ครั้ง ต่อ 1 คู่สถานีเท่านั้น เมื่อสถานีใดต้องการส่งข้องมูลมันจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์กลางสวิทซ์ก่อน เพื่อบอกให้ศูนย์กลาง สวิตซ์มันสลับตำแหน่งของคู่สถานีไปยังสถานีที่ต้องการติดต่อด้วย ดังนั้นข้อมูลจึงไม่เกิดการชนกันเอง ทำให้การสื่อสารได้รวดเร็วเมื่อสถานีใดสถานีหนึ่งเสีย ทั้งระบบจึงยังคงใช้งานได้ ในการค้นหาข้อบกพร่องจุดเสียต่างๆ จึงหาได้ง่ายตามไปด้วย แต่ก็มีข้อเสียที่ว่าต้องใช้งบประมาณสูงในการติดตั้งครั้งแรก 3.1.2 แบบวงแหวน (Ring)           ในโทโปโลยี(รูปแบบการเชื่อมต่อ) แบบวงแหวน(Ring) นั้น ได้ถูกออกแบบให้ใช้ Media Access Units (MAU) ต่อรวมกันแบบเรียงลำดับเป็นวงแหวน แล้วจึงต่อ คอมพิวเตอร์ (PC) ที่เป็น Workstation หรือ Server เข้ากับ MAU ใน MAU 1 ตัวจะสามารถต่อออกไปได้ถึง 8 สถานี เมื่อสถานีถัดไปนั้นรับรู้ว่าต้องรับข้อมูล แล้วมันจึงส่งข้อมูลกลับ เป็นการตอบรับ เมื่อสถานีที่จะส่งข้อมูลได้รัยสัญญาณตอบรับ แล้วมันจึงส่งข้อมูลครั้งแรก แล้วมันจะลบข้อมูลออกจากระบบ เพื่อให้ได้ใช้ข้อมูลอื่นๆ ต่อไป ดังนั้นทุกสถานีบน โทโปโลยี วงแหวนจะได้ทำงานทั้งหมดซึ่งจะคอยเป็นผู้รับและผู้ส่งแล้วยังเป็นรีพีทเตอร์ในตัวอีกด้วย ข้อมูลที่ผ่านไปแต่ละสถานี นั้น ข้อมูลที่เป็นตำแหน่งที่อยู่ตรงกับ สถานีใด สถานีนั้นจะรับข้อมูลเก็บไว้ แต่มันจะไม่ลบข้อมูลออกจากระบบ มันยังคงส่งข้อมูลต่อไป ดังนั้นผู้ส่งข้อมูลครั้งแรกเท่านั้นที่จะเป็นผู้ลบข้อมูลออกจากระบบ ครั้นเมื่อสถานีส่ง TOKEN มาถามสถานีถัดไปแล้วแต่กลับไม่ได้รับคำตอบ สถานีส่ง TOKEN จะทวนซ้ำข้อมูลเป็นครั้งที่สอง ถ้ายังคงไม่ได้รับคำตอบ จึงส่งข้อมูลออกไปได้ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาที่ไม่ให้ระบบหยุดชะงักการทำงานลงของระบบ เนื่องจากสถานีหนึ่งเกิดการเสียหาย หรือชำรุด ระบบจึงยังคงสามารถทำงานต่อไปได้ 3.1.3 แบบบัส (Bus)           ในโทโปโลยี แบบบัส และทรี (Bus and Tree) นั้นได้มีการทำงานที่คล้ายกันกล่าวคือ แบบบัส จะมีเคเบิลต่อถึงกันแบบขนาน ของแต่ละโหนด ส่วนแบบทรีนั้น จะมีการต่อแยกออกเป็นสาขาออกไปจากเคเบิลที่ใช้แบบบัสนั้นเอง ดังนั้นเมื่อมีการส่งข้อมูลจากโหนดใดทุกๆ โหนดบนระบบข้อมูลจะเข้าถึงได้ เนื่องจากอยู่บนเส้นทางสื่อสารเดียวกัน ในการส่งข้อมูลนั้น จะส่งเป็นเฟรม ข้อมูลซึ่งจะมีที่อยู่ของผู้รับติดไปด้วย เมื่อที่อยู่ผู้รับตรงกับ ตำแหน่งของโหนดใดๆ บนระบบ โหนดนี้จะรับข้อมูลเข้าไป และส่งข้อมูลมาพร้อมกันนั้นจะเกิดการชนกันของข้อมูล แล้วจะสุ่มเวลาขึ้นใหม่เพื่อส่งข้อมูลต่อไป ในการสื่อสารตามมาตรฐาน 802.4 นั้นมีด้วยกัน 3 แบบคือ แบบที่ 1 มีความเร็ว 1 Mbps ใช้สายข้อมูลแบบโคแอกเชียล 75 โอห์ม และสายเคเบิลหลักจะต้องไม่มีการต่อแยกแขนงออกไป ในแบบที่ 2 ซึ่งเรียกกันว่าแบบเบสแบนด์นั้นจะมีความเร็ว 5-10 Mbps ใช้สายแบบเดียวกับแบบที่ 1 แต่สัญญาณภายในจะเข้ารหัสแบบ FSK และแบบที่ 3 หรือ แบบบรอดแบนด์ จะใช้สายทรังก์ ซึ่งสามารถใช้ได้กับความเร็ว 1,5 และ 10 Mbps ซึ่งสัญญาณภายในสายจะเป็นแบบ AM นั้นเอง

      3.2 โพรโตคอลที่ใช้ในระบบ LAN           โพรโตคอล คือรูปแบบของการสื่อสารของเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ที่ทำให้ Software มีความเข้ากันได้กับ Hardware โพรโตคอลนั้นได้ถูกกำหนดให้เป็นมาตรฐานโดย ISO ซึ่งเป็นโมเดลแบ่งออกได้ 7 ระดับคือ PHYSICAL, DATALINK, NETWORK, TRANSPORT, SESSION, PHESENTA และ APPLICATION ตามลำดับ ในระบบ LAN นั้นจะใช้เพียงสองระดับล่างเท่านั้น เนื่องจากว่า LAN สามารถใช้ได้กับ โทโปโลยี ได้หลายแบบนั้นเอง จึงไม่ได้ใช้ระดับที่ 3 ขึ้นไป ในระดับที่ 1 นั้นเป็นระดับที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเป็นบิต เกี่ยวข้องกับระดับแรงกันไฟฟ้า ความถี่ และคาบเวลา ต่างๆ ส่วนระดับที่ 2 นั้นเป็นระดับการแปลงข้อมูลเป็นบล็อก และเฟรม พร้อมทั้งตรวจสอบข้อผิดพลาดด้วย โพรโตคอลที่ใช้กันมากในระบบ LAN นั้นมีอยู่ 2 แบบคือโพรโตคอล แบบโทเก้นบัส และโพรโตคอลแบบ CSMA/CD เป็นต้น
      3.3 อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ LAN           ในระบบ LAN อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมโยงนั้นมีไม่มากนัก เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการใช้เพื่อต่อเชื่อมโยงเครือข่ายเท่านั้น ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ LAN จะสามารถแบ่งออกเป็น 2 อย่างโดยทั่วๆ ไปดังนี้
        3.3.1 สายนำสัญญาณ
        3.3.2 อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ LAN
        3.3.1 สายนำสัญญาณ           สายนำสัญญาณ นับถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบเครือข่ายที่ทำให้คอมพิวเตอร์ มีการติดต่อสื่อสารกันในระยะทางที่ไกล สายนำสัญญาณ นั้นมีหลายชนิด มากมายในปัจจุบัน สามารถจำแนกได้ตามคุณสมบัติของสาย สภาพการใช้งาน และความเหมาะสมการใช้งาน สายนำสัญญาณที่ใช้ในระบบ LAN นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นลักษณะต่างๆ คือ สายสัญญาณแบบคู่บิดเกลียว ยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ประเภทแรกเป็นชนิด UTP (Unshield Twisted Pair) เป็นสายคู่บิดเกลียว 4 คู่ใช้ยาวไม่เกิน 100 เมตร สายที่ใช้ แบคโบน นั้น เป็นสายขนาด 25 คู่สายในมัดเดียว รองรับการสื่อสารได้สูงถึง 100 Mbps และ ประเภทที่ 2 ชนิด STP (Shield Twisted Piar) เป็นสายพัฒนามาจากสาย UTP โดยมีชีลด์ห่อหุ้มภายนอก ใช้ข้อมูลการสื่อสารได้ 100 Mbps สาย STP ที่เป็นแบคโบน นี้เป็นสายที่ออกแบบมาให้ไปได้ระยะทางที่ไกลขึ้น สายโคแอกเชียล เป็นอีกประเภทหนึ่งที่ใช้กันมากเป็นสายนำสัญญาญที่ป้องกันสัญญาณรบกวนได้มากทีเดียว สายชนิดนี้ในระบบบัส และใช้เดินระยะใกล้ๆ และ เส้นใยแก้วนำแสง เป็นสายที่ใช้คลื่นแสง 500 nM-1300nM ส่งผ่านไปยังตัวกลางใยแก้ว ซึ่งจะสะท้อนกลับภายใน ทำให้มีการสูญเสียของสัญญาณน้อยมาก ทำให้ได้ระยะทางที่ไกลขึ้นขณะที่ใช้กำลังส่งที่น้อยและมีสัญญาณรบกวนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับ สายนำสัญญาณชนิดอื่นๆ สายชนิดเส้นใยแก้วนำแสงนี้มักใช้เป็นแบคโบน โดยจะรองรับการสื่อสารได้สูงถึง 800 Mbps หรือมากกว่า แล้วแต่ล่ะชนิดที่นำมาใช้ 3.3.2 อุปกรณ์ที่ใช้ต่อระหว่างเครือข่าย           อุปกรณ์ที่ใช้ต่อระหว่างเครือข่ายนั้นมีด้วยกันมากมาย ด้วยคุณลักษณะของการใช้งาน แบบต่างๆ และยังคงได้รับการพัฒนาขึ้นอยู่ตลอดเวลา อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ LAN นั้นได้ยกตัวอย่างที่ พบกันมากดังต่อไปนี้ แผ่นการ์ดเครือข่าย เป็นแผ่นอินเตอร์เฟสสำหรับคอมพิวเตอร์ หรือแผ่นการ์ด NIC มีคุณสมบัติต่างที่ขึ้นอยู่กับชนิดของเครือข่าย และชนิดของคอมพิวเตอร์ อีกด้วย ฮับ (HUP) เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงระหว่างสายตามมาตรฐาน 802.3 นั้นใช้เชื่อมโยงในโทโปโลยี แบบสตาร์ ใช้สาย UTP ยาวไม่เกิน 100 เมตร และยังสามารถขยาย PORT ได้มาก ดีรอมเซิร์ฟเวอร์ (CD-ROM Server) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในเครือข่ายเช่นเดียวกัน เพื่อใช้แบ่งปันการใช้ข้อมูลต่างๆ ใน CD-ROM เอง รีพีตเตอร์ (Repeater)เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อระหว่างเครือข่าย เพื่อช่วยให้ขยายสัญญาณให้สูงขึ้น ทำให้ส่งข้อมูลหรือสื่อสาร ข้อมูลได้ไกลขึ้นนั้นเอง บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อระหว่างระบบ โดยที่ บริดจ์ มีอยู่ 2 ลักษณะด้วยกันคือแบบ Internal Bridge และแบบ External Bridge เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานคล้ายกัย Bridge แต่จะใช้เชื่อมต่อกับระบบที่ใหญ่กว่ามีประสิทธิภาพที่สูงกว่า และความเร็วที่สูงกว่า และ เราเตอร์ (Router) เป็นอีกอุปกรณ์หนึ่งที่เชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย ที่มีมากกว่า หนึ่งเซกเมนต์ เพื่อกำหนดเส้นทางข้อมูลได้มากขึ้น ต่อไป
      3.4 ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในระบบ LAN           คือ ระบบปฏิบัติการเครือข่ายประกอบด้วย ซอฟต์แวร์ สามส่วนผลิตภัณฑ์บางชนิด รวมสามส่วนไว้ในโปรแกรมเดียว บางชนิดก็ซับซ้อนกว่า แบ่งงานออกเป็นโมดูล ลายตัว ส่วนแรกเป็นส่วนประกอบอยู่ในระดับล่างสุด กับหน้าที่จัดเตรียมและดูแลการเชื่อมต่อให้คงอยู่ ซอฟต์แวร์ส่วนนี้ ประกอบด้วยโปรแกรม ไดรเวอร์ สำหรับเน็ตเวิร์คอแดปเตอร์ ส่วนที่เหลืออีกสองส่วนหนึ่งคือส่วนที่อยู่ในสถานีงานจะสร้างข่าวสาร การร้องขอ และส่งไปยังไฟล์เซิร์ฟเวอร์ ส่วนซอฟต์แวร์ ที่ใช้ในระบบ LAN จากดาวถึง 2 โปรแกรม คือ Corbon Copy และ PC Anywhere โดยจะได้อธิบายถึงการทำงานและความสามารถของมัน Corbon Copy นั้นใช้งาน Novell LX และ NetBEUI ส่วน PC Anywhere เวอร์ชัน 4.5 ของบริษัท Norton นั้นเป็นภาพที่ทำงานด้วยเมนู มีการตรวจวิเคราะห์ Hard ware ที่คงอยู่ ลักษณะการทำงานส่วนใหญ่ของโปรแกรมซึ่งจะเกี่ยวกับ การใช้ Hard disk เมื่อเวิร์กสเตชัน ต้องการใช้ข้อมูล ก็ส่งคำสั่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ เพื่อส่งให้ เซิร์ฟเวอร์ทำงาน แต่ในทางปฏิบัติงาน NetWare กระบวนการในการลำดับงานไม่สามารถกำหนดระดับ ความสามารถ ของงานได้ ดังนั้น งานที่มีการใช้งาน Hard disk มากๆ จะมีผลทำให้ การบริการกับงานอื่นๆ ช้าลงอย่างชัดเจน โปรแกรมที่เหมาะกับระบบ LAN ก็คือ ระบบงานที่ในลักษณะ Client Server ซึ่งจะเป็นการทำงานที่สมบูรณ์ที่สุด

    4. ผลที่ได้จากการทำงานของระบบ LAN
              การจัดการแฟ้มข้อมูล (File managent) เป็นการแบ่งใช้แฟ้มข้อมูล (Share file) และสอบถามแฟ้มข้อมูล (Transfer file) การใช้โปรแกรมร่วมกัน (Share application)การใช้อุปกรณ์ภายนอกร่วมกัน (Share Peripheral devices) เป็นเครื่องพิมพ์, ซีดีรอม, เครื่องสแกน,โมเด็มและเครื่องอ่านเขียนเทป และติดต่อกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ในเน็ตเวิร์คเป็นค่าตารางเวลาของกลุ่ม (Group Scheduling)รับ และส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ จัดการประชุมแบบอิเล็กทรอนิกส์ และเล่นเกมแบบเน็ตเวิร์ค และผลที่ได้จากระบบแลนนี้จะสามารถทำทุกอย่างทัดเทียมกับเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือมินิคอมพิวเตอร์ในราคาที่ต่ำกว่า ผู้ใช้สามารถแบ่งปันทรัพยากร และสารสนเทศของคอมพิวเตอร์ และพวกเขายังสามารถทำงานรวมกันในโครงการหรืองานที่ต้องมีการประสานงาน และการติดต่อสื่อสาร แม้จะไม่ได้อยู่บริเวณใกล้กันก็ตาม นอกจากนี้ถ้าเครือข่ายเกิดขัดข้อง คุณก็ยังคงทำงานต่อไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ของเขาถ้าเกิดการผิดปกติจะทำให้งานในแผนกหรือบริษัทของเขาหยุดชะงัก แต่แลนสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ คือ
    1. แบ่งปันการใช้ไฟล์โดยการสามารถใช้ข้อมูลเดียวกันถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆตัวได้
    2. การโอนย้ายไฟล์ โดยการโอนสำเนาจากเครื่องหนึ่งไปยังเครื่องหนึ่งโดยไม่ต้องแลกเปลี่ยนดิสเกตต์
    3. เข้าถึงข้อมูล และไฟล์ โดยการจะให้ใครก็ได้ ใช้งานซอฟต์แวร์บัญชี หรือ แอปพลิเคชั่นแลน ทำให้คนสองคนใช้โปรแกรมชุดเดียวกันได้
    4. การป้องกันการป้อนข้อมูลเข้าในแอปพลิเคชั่นพร้อมกัน
    5. แบ่งปันการใช้เครื่องพิมพ์ โดยการใช้แลน เครื่องพิมพ์ก็จะถูกแบ่งปันการใช้ตามสถานีหลาย ๆเครื่องถ้าทั้งหมดที่ต้องการคือ การใช้ Printerร่วมกัน

    5. แนวโน้มในอนาคตของระบบ LAN
              แนวโน้มในอนาคตของระบบ LAN ต่อไปนี้สิ่งที่คุณควรทราบระบบปฏิบัติการแลนหลัก ๆ ล้วนแต่เร็วพอสำหรับความต้องการใด ๆ ในทางปฏิบัติขององค์การ ความเร็วเป็นเพียงปัจจัยส่วนน้อยในการเลือกระบบปฏิบัติการเครือข่าย ระบบปฏิบัติการกำลังมีความเข้ากันได้และทำงานได้มากขึ้น Net Ware ครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดและห่างจากคู่แข่งมาก Windows NT ของ Microsoft เป็นผู้ท้าชิงที่น่ากลัวสำหรับ Net Were ผลิตภัณฑ์บนฐานของ Dos เช่น LANtastic และ POWERlan มีอนาคตที่ไม่สดใส เนื่องจากการทำเครือข่ายถูกสร้างไว้ใน Microsoft Windowsขนาดของตลาด และศักยภาพในการทำกำไรทำให้การแข่งขันระหว่างผู้ค้าระบบปฏิบัติการแลนเป็นไปอย่างดุเดือด Novell ผู้ซึ่งครอบส่วนแบ่งตลาด 70 เปอร์เซ็นต์ของเครือข่ายสำหรับพิธี ไม่ใช้ผู้เล่นเพียงคนเดียวอีกต่อไป แม้ว่าบริษัทที่ขายระบบปฏิบัติการเครือข่ายอื่นยังไม่สามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดจาก Novell ได้มากนักทุกรายก็กำลังทุ่มเทเงินให้กับทำการตลาดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองโดยมี Microsoft เป็นผู้นำ
              ในปี 1989 ผู้ค้าระบบปฏิบัติการเครือข่าย ได้เติมเชื้อเพลิงให้กับการเติบโตของเครือข่ายด้วยการประกาศและส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ทำตามมาตรฐานเปิดเทนโปรโตดอลเฉพาะตัว ATOT, Digital และ 3COM นำอุตสาหกรรมด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีความสามารถในการทำงานร่วมกันตามมาตรฐานเปิด แทนที่จะต้องลงบันทึกเข้าและควบคุมแต่ละบัญชีด้วยมาตรฐานการสื่อสารเฉพาะตัว พวกเขาล่อใจผู้ซื้อด้วยซอฟต์แวร์ที่ทำงานตามมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติในทศวรรษ 1990 บริษัทในตลาดที่ยังคงให้ผู้ซื้อด้วยความเข้าใจกันและความสามารถในการทำงานร่วมกันเพิ่มขึ้น แนวโน้มนี้ไปไกลจนกระทั่งเดี๋ยวนี้บริษัทไม่เพียงสนับสนุนมาตรฐานเปิดเท่านั้น พวกเขายังส่งซอฟต์แวร์สำหรับโพรโตคอล เฉพาะตัวของกันและกัน Microsoft ได้ยอมรับเอาโพรโตคอล IPX ของ Novell เป็นโพรโตคอลเครือข่ายโดยปริยายสำหรับ Windows NT Performance Technology และ Artisoft ได้กลายเป็นไดล์เอนต์สำหรับระบบปฏิบัติการเครือข่ายทุกตัว และ Novell กำลังรุกไล่การเชื่อมต่อของ UNIX
              ในทางปฏิบัติ การสนับสนุนหลายโพรโตคอลหมายความว่า ผู้บริหารสามารถปรับแต่งพีซีบนเครือข่ายเพื่อให้ไดร์ฟ F: ของ Dos เป็นไฟล์เซิร์ฟเวอร์ของแต่ละเครื่อง ความสามารถนี้มีให้ใช้แล้วในปัจจุบัน แต่ล้วนประกอบต่าง ๆ ต้องถูกรวมเข้าด้วยกันอย่างระมัดระวัง
              ความสามารถในการทำงานร่วมกันและความยืดหยุ่นที่ปรับปรุงขึ้นเป็นเป้าหมายหลักทางการตลาดและทางเทคโนโลยี สำหรับบริษัทซอฟต์แวร์เครือข่ายในกลางทศวรรษ 90 เช่นเดียวกับที่คุณสามารถผสมอแดปเตอร์ Ethernet จากผู้ค้าต่างกันได้ คุณจะสามารถผสมส่วนประกอบของระบบปฏิบัติการต่าง ๆ และเชื่อมโยงเซิร์ฟเวอร์ที่ทำงานด้วยระบบปฏิบัติการต่าง ๆ และเชื่อมโยงเซิร์ฟเวอร์ที่ทำงานด้วยระบบปฏิบัติการต่าง ๆ และเชื่อมโยงที่ทำงานด้วยระบบปฏิบัติการต่างกันบนเครือข่ายเดียวกัน ทุกตัวให้บริการแก่ไคลเอนต์เดียวกัน
              ในปัจจุบันนี้ ระบบเครือข่ายแลนได้เป็นที่รู้จัก และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายตาม office ของบริษัทต่าง ๆ เพื่อประหยัดในการลงทุนซื้อเครื่องปริ้นเตอร์, ซีดีรอม, โมเด็ม, เครื่องโทรสาร และรวมไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะสามารถแบ่งปันกันใช้ได้ บริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ที่ใช้ในระบบแลน ต่างก็แข่งขันกันในตลาดคอมพิวเตอร์ต่างก็พัฒนาให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพให้ดีมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เราก็ควรจะรู้จัก และเข้าใจในระบบแลนให้ดีเสียก่อน ก่อนที่จะติดตั้งระบบแลนเองบ้าง เพื่อจะได้คุณภาพ และประสิทธิภาพตามที่เราต้องการ

    วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

    การเขียน HTML




    การเขียน HTML
    2007-11-11 22:38:46 

    1.การเขียนโฮมเพจเบื้องต้น

            Text Editor ใช้สำหรับเขียนคำสั่งต่างๆลงไป และ save file นามสกุลเป็น       .html อาจเป็น Notepad หรือ Wordpad ที่ติดมากับ windows ก็ได้   โปรแกรม webbrowser ที่ใช้กันอยู่นี้ถ้าเป็น Netscape หรือ Explorer  ไม่ควรต่ำกว่า V.2    ในการสอนเขียนโฮมเพจต่อไปนี้ จะสอนเขียนโดยใช้โปรแกรม Text Editor    ใดก็ได้ที่สามารถ save file เป็น .html หรือ .htm ได้ เมื่อ save แล้วสามารถ       run ใน โปรแกรม webbrowser ได้เมื่อคุณ copy code ต่อไปนี้ ลงบน text editor ของคุณ แล้ว save เป็น    index.html แล้ว ลอง run   ดูได้แสดงว่าอุปกรณ์ที่คุณมีสามารถเขียนโฮมเพจได้แล้ว 
                <html>
                <head>
                <title>Hello World</title>
                </head>
                <body>
                <h1>Hello World</h1>
                </body>
                </html>
    copy ข้อความลงบน Notepad ดังนี้ 

    กด save as แล้วเลือก all file save ชื่อเป็น hello.html 

    ผลที่ได้ 

    2. โครงสร้างของภาษา HTML
                <html>
                <head>
                <title> ชื่อเรื่อง </title>
                </head>
                <body>
                ข้อความและคำสั่ง ที่ต้องการให้ปรากฎบนหน้าจอ
                </body>
                </html>


            ภาษา HTML จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆคือ         ส่วนหัว <head> คือส่วนที่จะ load เป็นอันดับแรก ใช้กำหนดชื่อเรื่อง และ คำสั่งที่ต้องการให้ load ก่อนส่วนอื่น
             เนื้อหา <body> คือส่วนที่เอาไว้ใส่ข้อความ และ คำสั่งต่างๆที่ต้องการให้แสดงในหน้าจอ Webbrowser   ส่วนที่เป็น <คำสั่ง> คือ tag สำหรับ เปิดคำสั่ง และ </คำสั่ง> คือ tag 

          ที่ใช้ปิดคำสั่งนั้น เช่น <head> ก็ต้องปิดด้วย </head> ด้วยเสมอ 
    3.คำสั่งพื้นฐาน

    3.1 การกำหนดข้อความลงใน Title bar
                <head>
                <title> ข้อความที่ต้องการให้ปรากฏลงบน Title Bar </title>
                </head>
          ผลที่ได้ Example01.html 

    3.2 การกำหนด background
     
               <html>
                <head>
                <title>การกำหนด background ให้ Homepage</title>
                </head>
                <body bgcolor="color">
                </body>
                </html>

          การกำหนดสีของ background ทำได้โดยการเพิ่มคำสั่ง bgcolor ลงใน <body> ดังตัวอย่างด้านบน ส่วนตัวแปร color คือ ชื่อสีหรือ code   สีที่จะใช้กำหนดสีของ background      ชื่อสีเช่น black white blue green red ฯลฯ   Code สี คือเลขฐาน16 คือ(0-9,A-F) 6 ตัวซึ่งแทนค่าในสีต่างๆ 2    ตัวแรกจะแทนค่าสีแดง 2 ตัวกลางจะแทนสีเขียว ส่วน 2 ตัวหลังจะแทนสีน้ำเงิน      ดู code สี คลิกที่นี่

           การใช้ภาพเป็น Background
                <html>
                <head>
                <title>การกำหนด background ให้ Homepage</title>
                </head>
                <body background="URL">
                </body>
                </html>

          การใช้รูปภาพเป็น background ใช้การแทรกคำสั่งเข้าไปใน <body>       เช่นเดียวกับการกำหนดสี background ตัวแปร URL คือ path ของ file รูปภาพเช่น http://www.siamclub.com/bg.gif หรือถ้าหาก อยู่ใน directory เดียวกัน สามารถกำหนดเป็น ชื่อ file ได้เลยเช่น <body background="bg.gif">   หากต้องการกำหนดทั้งสีและภาพที่เป็น background ทำได้ดังตัวอย่าง
          <body bgcolor="color" background="URL"> ไม่สามารถใช้ทั้ง <body bgcolor> 
          และ <body background> แยกกันได้ เพราะว่า ภาษา html จะเลือก body 
          เพียงอันเดียว ทำให้การ load อาจผิดพลาดได้ 
    <body bgcolor="color" background="URL"> คำสั่งนี้จะใช้สำหรับ       กรณีที่ภาพที่ใชัเป็น background มีขนาดใหญ่ browser จะ load    สีพื้นหลังขึ้นมาก่อน 

    3.3 การกำหนด music background

                <html>
                <head>
                <title>การกำหนด music background</title>
                </head>
                <body>
                <bgsound src="URL" loop="จำนวนรอบ"> </body>
                </html>

          การกำหนด music background ทำได้โดยการ tag คำสั่ง <bgsound> ลงใน โฮมเพจ    ดังตัวอย่างด้านบน URL คือที่อยู่ของ file เช่น    http://www.siamclub.com/sound.mid หรือ ถ้าอยู่ใน Directory เดียวกัน   สามารถกำหนดเป็นชื่อ file ได้เลยเช่น <body bgsound="sound.mid"> 
          สำหรับตัวแปร จำนวนรอบ คำจำนวนรอบของการวนเพลง หากต้องการให้วนไปเรื่อยๆ ให้ใช้คำสั่ง <bgsound src="URL" loop="INFINITE">หรือ ใช้ -1 แทน INFINITE  ก็ได้
          file เพลงต่างๆสามารถหาได้ที่
          midi.com
          Midiworld

    3.4 การใส่ข้อความลงในโฮมเพจ

                <html>
                <head>
                <title>การใส่ข้อความลงในโฮมเพจ</title>
                </head>
                <body>
                ข้อความที่ต้องการ
                </body>
                </html>

          การใส่ข้อความลงในโฮมเพจสามารถใส่ลงไประหว่าง <body> .... </body> ได้เลย 
          ดังตัวอย่างด้านบน แต่โปรแกรม webbrowser  จะไม่สามารถอ่านการเว้นวรรคของเราได้ เช่น ถ้าคุณพิมพ์ว่า
                <html>
                <head>
                <title>การใส่ข้อความลงในโฮมเพจ</title>
                </head>
                <body>
                HTML คือภาษาที่ใช้เขียนโฮมเพจ
                </body>
                </html>
          กับ
                <html>
                <head>
                <title>การใส่ข้อความลงในโฮมเพจ</title>
                </head>
                <body>
                HTML
                คือภาษาที่ใช้เขียนโฮมเพจ
                </body>
                </html>
          โปรแกรม webbrowser จะแสดงผลออกมาเหมือนกัน คือ   Example02.html
          ไม่ว่าเราจะเว้นวรรคยาวเท่าใด โปรแกรม Webbrowser  จะอ่านได้ว่าคือการเว้นวรรคเพียง 1 วรรคเท่านั้น ถ้าเราต้องการจัดหน้ากระดาษแบบต่างๆเช่น เว้นบรรทัด จำเป็นต้องใช้คำสั่งต่างๆอีกมากมาย ซึ่งจะกล่าวในบทต่อๆไปครับ

    4. คำสั่งเริ่มต้น

    4.1 การใช้ comment tag
                <html>
                <head>
                <title>Comment tag</title>
                </head>
                <body>
                <!-- ตั้งแต่ 2-2-95--->
                </body>
                </html>

          Comment tag มีไว้เพื่อเตือนความจำ หรือไว้บันทึก เขียนไว้ที่ส่วนใดของ file ก็ได้ โดยใช้ <!ข้อความ> เพราะเมื่อเราเขียนโฮมเพจไว้ มากๆ จะทำให้เราลืมได้ว่า จะแก้ code ตรงไหน หรือ file นี้ทำขึ้นมาเมื่อไหร่       โดยที่ webbrowser จะข้ามการอ่านข้อมูลตรงนี้ไป ทำให้ไม่แสดงผลใดๆใน 
          webbrowser ดังตัวอย่างด้านบน

    4.2 คำสั่งขึ้นบรรทัดใหม่

                <html>
                <head>
                <title>คำสั่งขึ้นบรรทัดใหม่</title>
                </head>
                <body>
                HTML<br>
                DHTML<br>
                Java script<br>
                Java applet<br>
                </body>
                </html>

          คำสั่งสำหรับขึ้นบรรทัดใหม่ใช้คำสั่ง <br> วางไว้ท้ายข้อความที่ต้องการ Webrowser จะแสดงผลข้อความต่อจากนั้นในบรรทัดต่อไป ดังตัวอย่าง
          ผลที่ได้ Example03

    4.3 คำสั่งขึ้นย่อหน้าใหม่

                <html>
                <head>
                <title>คำสั่งขึ้นย่อหน้าใหม่</title>
                </head>
                <body>
                <p>HTML คือภาษาที่ใช้ในการเขียน โฮมเพจ ย่อมาจากคำว่า Hyper Text Makeup Language ซึ่งพัฒนามาจากภาษา SGML ซึ่งสามารถอ่านได้ด้วยโปรแกรม  Web browser อย่างเช่น Internet Explorer หรือ Netscape Navigator</p>
     <p>ในเพจนี้จะสอนการสร้าง โฮมเพจด้วย ภาษา HTML โดยใช้โปรแกรม Text   Editer ใดก็ได้ เช่น Notepad , Wordpad , Microsoft Word หรือแม้แต่โปรแกรม Edit ของ DOS ก็สามารถสร้าง file HTML ขึ้นได้ ใน  windows นิยม save เป็น file.html ส่วนใน dos นั้นนิยม save เป็น file.htm เพราะว่าใน dos นั้นไม่สามารถ save นามสกุล file เกิน 3  ตัวอักษรได้ </p>
                </body>
                </html>

          <p>......</p>
          คือคำสั่งที่ใช้สำหรับย่อหน้าใหม่
          ผลที่ได้ Example04.html
          คำสั่งสำหรับจัดตำแหน่งของย่อหน้า <p align="ตำแหน่ง">
                <html>
                <head>
                <title>คำสั่งขึ้นย่อหน้าใหม่</title>
                </head>
                <body>
                <p align="right">HTML คือภาษาที่ใช้ในการเขียน โฮมเพจ ย่อมาจากคำว่า   Hyper Text Makeup Language ซึ่งพัฒนามาจากภาษา SGML  ซึ่งสามารถอ่านได้ด้วยโปรแกรม Web browser อย่างเช่น Internet Explorer หรือ Netscape Navigator</p>
                <p align="center">ในเพจนี้จะสอนการสร้าง โฮมเพจด้วย ภาษา HTML โดยใช้โปรแกรม Text Editer ใดก็ได้ เช่น Notepad , Wordpad , Microsoft  Word หรือแม้แต่โปรแกรม Edit ของ DOS ก็สามารถสร้าง file HTML ขึ้นได้ น windows นิยม save เป็น file.html ส่วนใน dos นั้นนิยม save เป็น file.htm เพราะว่าใน dos นั้นไม่สามารถ save นามสกุล file เกิน 3 ตัวอักษรได้ </p>
                </body>
                </html>

          การกำหนดตำแหน่งของย่อหน้าทำได้โดยการเพิ่มคำสั่งลงใน <p> ดังตัวอย่าง ตัวแปร 
          ตำแหน่ง คือ ตำแหน่งที่ต้องการ มีอยู่ 3 อย่างคือ
          left = ชิดขอบซ้าย
          right = ชิดขอบขวา
          center = กลางหน้ากระดาษ
          ผลที่ได้ Example05.html 

    4.4 คำสั่งขีดเส้นใต้

                <html>
                <head>
                <title>คำสั่งขีดเส้นใต้</title>
                </head>
                <body>
                HTML คือภาษาที่ใช้ในการเขียน โฮมเพจ ย่อมาจากคำว่า Hyper Text Makeup  Language ซึ่งพัฒนามาจากภาษา SGML ซึ่งสามารถอ่านได้ด้วยโปรแกรม Web    browser อย่างเช่น Internet Explorer หรือ Netscape Navigator<hr>
                ในเพจนี้จะสอนการสร้าง โฮมเพจด้วย ภาษา HTML โดยใช้โปรแกรม Text Editer  ใดก็ได้ เช่น Notepad , Wordpad , Microsoft Word หรือแม้แต่โปรแกรม   Edit ของ DOS ก็สามารถสร้าง file HTML ขึ้นได้ ใน windows นิยม save เป็น file.html ส่วนใน dos นั้นนิยม save เป็น file.htm เพราะว่าใน dos นั้นไม่สามารถ save นามสกุล file เกิน 3 ตัวอักษรได้ <hr>
                </body>
                </html>

          <hr>
          คือคำสั่งที่ใช้สำหรับขีดเส้นใต้
          ผลที่ได้ Example06.html
          การกำหนดความยาวของเส้น <hr width="ความยาว">
                <html>
                <head>
                <title>การกำหนดความยาวของเส้น</title>
                </head>
                <body>
                HTML <hr width="200">
                HTML <hr width="400">
                HTML <hr width="600">
                HTML <hr width="800">
                HTML <hr width="20%">
                HTML <hr width="60%">
                </body>
                </html>

          เราสามารถกำหนดความยาวของเส้นคั่นโดยใส่ค่าตัวเลข ความยาวที่ต้องการโดยหน่วยเป็น pixel หรือใส่เป็นขนาด % ต่อหน้าจอ ในตัวแปร ความยาว ดังตัวอย่างด้านบน
          ผลที่ได้ Example07.html 
          การกำหนดความหนาของเส้น <hr size="ความหนา">
                <html>
                <head>
                <title>การกำหนดความยาวของเส้น</title>
                </head>
                <body>
                HTML <hr size="2">
                HTML <hr size="4">
                HTML <hr size="6">
                HTML <hr size="8">
                </body>
                </html>


          เราสามารถกำหนดความหนาของเส้นคั่นโดยใส่ค่าตัวเลข ความยาวที่ต้องการโดยหน่วยเป็น pixel ในตัวแปร ความหนา ดังตัวอย่างด้านบน
          ผลที่ได้ Example08.html 
          การกำหนดเส้นทึบ 
                <hr noshade> 

          ตัวอย่าง เช่น <hr noshade size="10"> 


          การตำแหน่งของของเส้นคั่น 
                <hr align="ตำแหน่ง"> 

          ทำได้โดยการเติมตำแหน่งที่ต้องการ left right center เช่นเดียวกับ คำสั่ง <p>
          ตัวอย่าง เช่น <hr noshade size="10" align="center"> 


          การกำหนดสีของเส้นคั่น (เฉพาะ IE) 
                <hr color="Code สี"> 

          ทำได้โดยการเติม code สีที่ต้องการลงไปได้เลย Code สี
          ตัวอย่าง เช่น <hr noshade size="10" align="center" color="cc66cc"> 

    5. คำสั่งกำหนดตัวอักษร

    5.1 การกำหนดหัวเรื่อง

                <html>
                <head>
                <title>กำหนดหัวเรื่อง</title>
                </head>
                <body>
                <h1>HTML</h1>
                <h2>HTML</h1>
                <h3>HTML</h1>
                <h4>HTML</h1>
                <h5>HTML</h1>
                <h6>HTML</h1>
                </body>
                </html>


          <hn>
          คือคำสั่งที่ใช้สำหรับกำหนดหัวเรื่องโดยการเติมตัวเลข 1-6 ลงในตัวแปร n โดย เลข 1 จะเป็นตัวใหญ่ที่สุด และ 2,3,4 รองลงมา จนถึง 6 จะเป็นหัวข้อที่เล็กที่สุด 
          ผลที่ได้ Example09.html

     
    5.2 การกำหนดขนาดตัวอักษร

                <html>
                <head>
                <title>คำสั่งขีดเส้นใต้</title>
                </head>
                <body>
                <font size="-1">HTML</font>
                <font size="-3">HTML</font>
                <font size="-5">HTML</font>
                <font size="-7">HTML</font>
                <font size="1">HTML</font>
                <font size="3">HTML</font>
                <font size="5">HTML</font>
                <font size="7">HTML</font>
                <font size="+1">HTML</font>
                <font size="+3">HTML</font>
                <font size="+4">HTML</font>
                <font size="+7">HTML</font>
                </body>
                </html>


          <font size="number">
          คือคำสั่งที่ใช้สำหรับกำหนดขนาดตัวอักษร
          โดยการเติมตัวเลข -1 ถึง +7 โดยเลข -1 จะเล็กที่สุด และ +7 
          จะมีขนาดใหญ่ที่สุด 
          ผลที่ได้ Example10.html

     
    5.3 การกำหนดรูปแบบตัวอักษร

          การกำหนดชื่อตัวอักษร <font face="ชื่อตัวอักษร">
                <html>
                <head>
                <title>การกำหนดขนาดตัวอักษร</title>
                </head>
                <body>
                <font face="Cordiaupc">HTML</font><br>
                <font face="Ms sans serif">HTML</font><br>
                <font face="AngsanaUPC">HTML</font><br>
                <font face="arial">HTML</font><br>
                </body>
                </html>


          <font face="ชื่อตัวอักษร"> ....... </font>
          คือคำสั่งที่ใช้สำหรับกำหนดชื่อตัวอักษรโดยการเติมชื่อตัวอักษรลงไปใน <font> ดังตัวอย่าง      หากท่านต้องการกำหนดทั้งชื่อตัวอักษรและ ขนาดตัวอักษรพร้อมกัน 
          สามารถเขียนคำสั่งได้ดังนี้
                <font size="ขนาดตัวอักษร" face="ชื่อตัวอักษร">HTML</font> 

          ผลที่ได้ Example11.html



          การกำหนดตัวเอียง ตัวหนา และ ตัวขีดเส้นใต้ 
          <b> = ตัวหนา
          <i> = ตัวเอียง
          <u> = ตัวขีดเส้นใต้

                <b>HTML</b><br>
                <i>HTML</i><br>
                <u>HTML</u><br>
                <b><i><u>HTML</b></i></u><br>


          ผลที่ได้ Example12.html

     
    5.4 การใช้ preformatted text

          <pre>.....</pre>
         <pre>

    HTML = Hyper Text Markup Language
             --------------------------------------------------
    Java Script 
    Java Applet
    DHTML
    </pre>
          <pre> ....... </pre>

          preformatted text เป็นการจัดตัวอักษรที่ 
          จะมีความกว้างเท่ากันทุกตัวโดยจะแสดงผลในรูปแบบของ fix font  เราสามารถจัดหน้าจออย่างไรก็ได้ โดยไม่ต้องใช้ คำสั่ง HTML ใดๆเลย แต่จะสามารถแสดงได้แต่ ภาษาอังกฤษ และใน font ของ fix font เท่านั้น
          ผลที่ได้ Example13.html

     
    5.5 การทำตัวอักษรกระพริบ (เฉพาะ Netscape)
                <blink> blink text </blink> 
          การทำตัวอักษรกระพริบ นั้นทำให้เพิ่มความสนใจในข้อความนั้น แต่ต้องระวังว่า ถ้าทำตัวอักษรกระพริบมากเกินไป จะทำให้คนเข้ารำคาญได้ note คำสั่ง blink นี้ถ้าไม่ปิดคำสั่ง จะแสดงผลทั้งบรรทัด 
          ผลที่ได้ Example14.html

     
    5.6 การจัดหน้ากระดาษ

         <center> text </center> 
          <center> ใช้สำหรับ จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ 
          ผลที่ได้ Example15.html



          การจัดกั้นหน้า และ กั้นหลัง
                <blockquote><blockquote><blockquote>
                HTML คือภาษาที่ใช้ในการเขียน โฮมเพจ ย่อมาจากคำว่า Hyper Text Makeup Language ซึ่งพัฒนามาจากภาษา SGML ซึ่งสามารถอ่านได้ด้วยโปรแกรม Web browser อย่างเช่น Internet Explorer หรือ Netscape Navigator ในเพจนี้จะสอนการสร้าง โฮมเพจด้วย ภาษา HTML โดยใช้โปรแกรม Text Editer ใดก็ได้ เช่น Notepad , Wordpad , Microsoft Word หรือแม้แต่โปรแกรม Edit ของ DOS ก็สามารถสร้าง file HTML ขึ้นได้ ใน windows นิยม save เป็น file.html ส่วนใน dos นั้นนิยม save เป็น file.htm เพราะว่าใน dos  นั้นไม่สามารถ save นามสกุล file เกิน 3 ตัวอักษรได้ ในเพจนี้จะสอนการใช้ภาษา HTML ทุกขั้นตอน รวมถึงการสมัคร free homepage และการ upload file อย่างละเอียดทุกขั้นตอน รับรองว่าถ้าท่านตั้งใจจะเขียนโฮมเพจจริง อ่านที่นี่สามารถเขียนโฮมเพจได้แน่นอนครับ 
                </blockquote></blockquote></blockquote> 

          <blockquote> ใช้สำหรับตั้งกั้นหน้า และกั้นหลัง โดยทั้ง 2 ฝั่งจะห่างจากขอบเท่ากัน หากต้องการให้กั้น หน้า และ หลัง แคบลงก็สามารถใช้ 
          <blockquote> หลายๆครั้งซ้อนกันได้ครับถ้าอ่านแล้วยังไม่เข้าใจก็ลองดูตัวอย่างนะครับ
          ผลที่ได้ Example16.html



          การย่อหน้า
                <dd>HTML คือภาษาที่ใช้ในการเขียน โฮมเพจ ย่อมาจากคำว่า Hyper Text  Makeup Language ซึ่งพัฒนามาจากภาษา SGML ซึ่งสามารถอ่านได้ด้วยโปรแกรม Web browser อย่างเช่น Internet Explorer หรือ Netscape Navigator ในเพจนี้จะสอนการสร้าง โฮมเพจด้วย ภาษา HTML โดยใช้โปรแกรม Text Editer ใดก็ได้ เช่น Notepad , Wordpad , Microsoft Word หรือแม้แต่โปรแกรม Edit ของ DOS ก็สามารถสร้าง file HTML ขึ้นได้ ใน windows นิยม save  เป็น file.html ส่วนใน dos นั้นนิยม save เป็น file.htm เพราะว่าใน dos นั้นไม่สามารถ save นามสกุล file เกิน 3 ตัวอักษรได้ 
                 <dd>ในเพจนี้จะสอนการใช้ภาษา HTML ทุกขั้นตอน รวมถึงการสมัคร free  homepage และการ upload file อย่างละเอียดทุกขั้นตอนรับรองว่าถ้าท่านตั้งใจจะเขียนโฮมเพจจริงอ่านที่นี่สามารถเขียนโฮมเพจได้แน่นอนครับ 

          <dd> ใช้สำหรับย่อหน้า
          ผลที่ได้ Example17.html

     
    5.7 การกำหนดสีตัวอักษร

      <font color="color"> text </font> 
      <font color="code สี"> ใช้สำหรับ กำหนดสีให้ตัวอักษร โดยการใช้ code สี 
          กำหนดสีของตัวอักษร 

    อ้างอิงจาก http://grimmjow.212cafe.com