วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การลง windown xp

การลง Windows XP Professional & การฟอแมท ลงวินโดว์ xp

 



การติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows XP โดยปกติ จะสามารถทำได้ 2 แบบคือ การติดตั้งโดยการอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม หรือทำการติดตั้งใหม่เลยทั้งหมด สำหรับตัวอย่างในที่นี้ จะขอแนะนำวิธีการ ขั้นตอนการติดตั้ง Windows XP แบบลงใหม่ทั้งหมด ซึ่งความเห็นส่วนตัว น่าจะมีปัญหาในการใช้งานน้อยกว่าแบบอัพเกรดครับ
วิธีการติดตั้ง Windows XP ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบดังนี้
1. ติดตั้งแบบอัพเกรดจาก Windows ตัวเดิม โดยใส่แผ่น CD และเลือกติดตั้งจาก CD นั้นได้เลย
2. ติดตั้งโดยการบูตเครื่องใหม่จาก CD ของ Windows XP Setup และทำการติดตั้ง
3. ติดตั้งจากฮาร์ดดิสก์ โดยทำการ copy ไฟล์ทั้งหมดจาก CD ไปเก็บไว้ในฮาร์ดดิสก์ ก่อนทำการติดตั้ง
เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ในขั้นตอนการติดตั้งระบบ Windows XP ตรงนี้ จะขอแสดงตัวอย่างการติดตั้ง โดยการบูตจากแผ่น CD ของ Windows XP Setup ครับ โดยก่อนที่จะทำการติดตั้ง ก็ให้ทำการสำรองข้อมูลต่าง ๆ ไว้ให้เรียบร้อย
ในการแบ่งพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ แนะนำให้ทำการวางแผนประมาณขนาดพื้นที่ไว้ล่วงหน้าด้วย โดยทั่วไปก็ไม่ควรจะใช้พื้นที่ต่ำกว่า 3G. และเนื่องจากระบบ Windows XP สามารถที่จะสร้างเมนู Multi Boot ได้หลังจากที่ติดตั้งไปแล้ว โดยยังสามารถเลือกเมนูว่า จะเรียก Windows ตัวเดิมหรือจะเรียก Windows XP ก็ได้ ดังนั้น หลาย ๆ ท่านมักจะแบ่งพื้นที่ไว้ลง Windows 98 ที่ Drive C: ประมาณ 5G. และเผื่อไว้สำหรับ Windows XP ที่ Drive D: อีกประมาณ 5G. ที่เหลือก็จะเป็น Drive E: สำหรับเก็บข้อมูลอื่น ๆ ทั่วไป แต่ถ้าหากลง Windows เพียงแค่ตัวเดียว ก็ไม่จำเป็นครับ
การตั้งค่าใน BIOS ก่อนทำการติดตั้ง Windows XP ใหม่จะต้องทำการ Disable Virus Protection ใน BIOS ซะก่อน เพราะว่าเมนบอร์ดบางรุ่นจะมีการป้องกัน Virus โดยการป้องกันการเขียนทับในส่วนของ Boot Area ของฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเท่าที่เคยเห็นมา เครื่องคอมพิวเตอร์ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะมีให้เลือกตั้งค่านี้อยู่แล้ว ถ้าหากเครื่องของใครไม่มีก็ไม่ต้องตกใจ เพราะเมนบอร์ด บางรุ่นอาจจะไม่มีก็ได้ วิธีการก็คือ
  • เริ่มจากการเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ขณะที่เครื่องกำลังทำ Memory Test หรือนับ RAM อยู่นั่นแหละ ด้านล่างซ้ายมือจะมีคำว่า Press DEL to enter SETUP ให้กดปุ่ม DEL บน Keyboard เพื่อเข้าสู่เมนูของ Bios Setup (แล้วแต่เมนบอร์ด ด้วยบางทีอาจจะใช้ปุ่มอื่น ๆ สำหรับการเข้า Bios Setup ก็ได้ลองดูให้ดี ๆ) จากนี้ก็แล้วแต่ว่าเครื่องของใคร จะขึ้นเมนูอย่างไร คงจะไม่เหมือนกันแต่ก็ไม่แตกต่างกันมากนัก จากนั้นให้มองหาเมนู Bios Features Setup ส่วนใหญ่จะเป็นเมนูที่สอง ใช้ปุ่มลูกศรเลื่อนแถบลงมาแล้วกด ENTER ถ้าใช่จะมีเมนูของ Virus Warning หรือ Virus Protection อะไรทำนองนี้ ถ้าหากเป็น Enable อยู่ละก็ให้เปลี่ยนเป็น Disable โดยเลื่อนแถบแสงไปที่เมนูที่เราต้องการใช้ปุ่ม PageUp หรือ PageDown สำหรับเปลี่ยนค่าให้เป็น Disable
  • กดปุ่ม ESC เพื่อกลับไปเมนูหลักของ Bios Setup มองหาเมนูของ SAVE TO CMOS AND EXIT หรืออะไรทำนองนี้เลื่อนแถบแสงไปเลยแล้วกด ENTER ถ้าหากเครื่องถามว่าจะ Save หรือไม่ก็ตอบ Y ได้เลย หลังจากนี้เครื่องจะทำการ Reboot ใหม่อีกครั้ง ใส่แผ่น Startup Disk ที่เราทำไว้ตามขั้นตอนแรกรอไว้ก่อนเลย
มาดูขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้น การติดตั้ง Windows XP กันเลยครับ
เริ่มต้น โดยการเซ็ตให้บูตเครื่องจาก CD-Rom Drive ก่อน โดยการเข้าไปปรับตั้งค่าใน bios ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเลือกลำดับการบูต ให้เลือก CD-Rom Drive เป็นตัวแรกครับ (ถ้าหากเป็นแบบนี้อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องเปลี่ยนอะไร)
ทำการปรับเครื่อง เพื่อให้บูตจาก CD-Rom ก่อน จากนั้นก็บูตเครื่องจากแผ่นซีดี Windows XP Setup โดยเมื่อบูตเครื่องมา จะมีข้อความให้กดปุ่มอะไรก็ได้ เพื่อบูตจากซีดีครับ ก็เคาะ Enter ไปทีนึงก่อน
โปรแกรมจะทำการตรวจสอบและเช็คข้อมูลอยู่พักนึง รอจนขึ้นหน้าจอถัดไปครับ
เข้ามาสู่หน้า Welcome to Setup กดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
หน้าของ Licensing Agreement กดปุ่ม F8 เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
ทำการเลือก Drive ของฮาร์ดดิสก์ที่จะลง Windows XP แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
เลือกชนิดของระบบ FAT ที่จะใช้งานกับ Windows XP หากต้องการใช้ระบบ NTFS ก็เลือกที่ข้อบน แต่ถ้าจะใช้เป็น FAT32 หรือของเดิม ก็เลือกข้อสุดท้ายได้เลย (no changes) ถ้าไม่อยากวุ่นวาย แนะนำให้เลือก FAT32 นะครับ แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
โปรแกรมจะเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้ง รอสักครู่ครับ
หลังจากนั้น โปรแกรมจะทำการ Restart เครื่องใหม่อีกครั้ง (ให้ใส่แผ่นซีดีไว้ในเครื่องแบบนั้น แต่ไม่ต้องกดปุ่มใด ๆ เมื่อบูตเครื่องใหม่ ปล่อยให้โปรแกรมทำงานไปเองได้เลยครับ)
หลังจากบูตเครื่องมาคราวนี้ จะเริ่มเห็นหน้าตาของ Windows XP แล้วครับ รอสักครู่
โปรแกรมจะเริ่มต้นขั้นตอนการติดตั้งต่าง ๆ ก็รอไปเรื่อย ๆ ครับ
จะมีเมนูของการให้เลือก Regional and Language ให้กดปุ่ม Next ไปเลยครับ ยังไม่ต้องตั้งค่าอะไรในช่วงนี้
ใส่ชื่อและบริษัทของผู้ใช้งาน ใส่เป็นอะไรก็ได้ แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
ทำการใส่ Product Key (จะมีในด้านหลังของแผ่นซีดี) แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
หน้าจอให้ใส่ Password ของ Admin ให้ปล่อยว่าง ๆ ไว้แบบนี้แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
เลือก Time Zone ให้เป็นของไทย (GMT+07:00) Bangkok, Hanoi, Jakarta แล้วกดปุ่ม Next เพื่อทำการติดตั้งต่อไป
รอครับ รอ รอ รอสักพัก จนกระทั่งขั้นตอนต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อย ก็พร้อมแล้วสำหรับการเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows XP ครับ จากนั้น จะมีการบูตเครื่องใหม่อีกครั้ง เพื่อเริ่มต้นการใช้งานจริง ๆ
บูตเครื่องใหม่คราวนี้ อาจจะมีเมนูแปลก ๆ แบบนี้ เป็นการเลือกว่า เราจะบูตจากระบบ Windows ตัวเก่าหรือจาก Windows XP ครับ ก็เลือกที่ Microsoft Windows XP Professional ครับ ถ้าของใครไม่มีเมนูนี้ก็ไม่เป็นไรนะครับ
เริ่มต้นบูตเครื่อง เข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Windows XP แล้วครับ
ในครั้งแรก อาจจะมีการถามเรื่องของขนาดหน้าจอที่ใช้งาน กด OK เพื่อให้ระบบตั้งขนาดหน้าจอให้เราได้เลยครับ นอกจากนี้ ถ้าหากเครื่องไหนมีการถาม การติดตั้งค่าต่าง ๆ ก็กดเลือกที่ Next หรือ Later ไปก่อน บางครั้งอาจจะมีให้เราทำการสร้าง Username อย่างน้อย 1 ฃื่อก่อนเข้าใช้งาน ก็ใส่ชื่อของคุณเข้าไปได้เลย
เสร็จแล้วครับ หน้าตาของการเข้า Windows XP สวยดีครับ


อ้างอิงจากhttp://www.mescript.com/windows-tips/install-windows-xp/




วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ชนิดของ cpu

|||home|||การทำงานของซีพียู|||หน่วยความจำแคช|||ความเร็วซีพียู|||ชนิดของซีพียู|||บริษัทผู้ผลิตซีพียู|||ซีพียูแต่ละรุ่นของอินเทล|||

ซีพียูแต่ละรุ่นของอินเทล
Intel 8086 / 8088 (1978-1979)
ซีพียูรุ่น 8086 เป็นซีพียูของอินเทลที่ทำงานแบบ 16 บิตแบบสมบูรณ์ เพราะทั้งสถาปัตยกรรม ภายในและภายนอกเป็นแบบ 16 บิตอย่างแท้จริง ต่างจาก 8088 ที่สถาปัตยกรรมภายในเป็น ระบบประมวลผลแบบ 16 บิต แต่สถาปัตยกรรมภายนอกที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับดาต้าบัส เพื่อ รับส่งข้อมูลเป็นแบบ 8 บิต
Intel 80286 (1982)
ในปี ค.ศ. 1982 อินเทลก็ได้ผลิตซีพียูรุ่น 80286 ที่มีความเร็วเพียงแค่ 6 เมกิเฮิรตช์ ซึ่งบัสของ 80286 เป็นแบบ 16 บิต ภายในมีทรานซิลเตอร์บรรจุอยู่ประมาณ 130 , 000 ตัว จึงเป็นเหตุให้เกิด ความร้อนสูงในขณะทำงาน ดังนั้นจึงต้องมีการติดตั้งพัดลมและแผ่นระบายความร้อน ( Heat Sink )
Intel 80386SX/80386DX (1985-1990)
ผลิตออกมาเมื่อปี ค.ศ. 1985 ด้วยความเร็ว 16 เมกะเฮิรตซ์ เป็นซีพียูที่มีขนาดของบัสข้อมูล 16 บิต แต่มีขีดความสามารถและความเร็วสูงกว่า 80826 มีทรานซิสเตอร์ภายใน 250 , 000 ตัว สถาปัตยกรรมภายในเป็นระบบประมวลผลแบบ 32 บิต แต่สถาปัตยกรรมภายนอกที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับดาต้าบัสเพื่อรับ – ส่งข้อมูลจะเป็นแบบ 16 บิต โดย 80386 SX มีความเร็วตั้งแต่ 16 , 50 , 25 , และ 33 เมกะเฮิรตซ์
Intel 80486SX/ 80486 DX (1989-1994)
ซีพียูรุ่น 80486 มีความเร็วตั้งแต่ 20 , 25 , และ 33 เมกะเฮิรตซ์ ทำงานแบบ 32 บิต และมีแคช ภายใน ( Intel Cache ) ทำสามารถทำงานได้เร็วกว่ารุ่น 80386 ที่จำนวนของสัญญาณนาฬิกา เท่ากัน โดยในรุ่น 80486 SX ยังไม่มี Math Coprocess รวมอยู่ในซีพียู ต่อมาทางอินเทลก็ได้ออกเครื่องรุ่น 80486 DX มีความเร็วตั้งแต่ 50 , 66 , 100 เมกะเฮิรตซ์ เป็นซีพียูที่มีขีดความสามารถสูงขึ้นทั้งด้านความเร็วในการคำนวณและเทคโนโลยีโดยการรวม เอา Math Coprocessor และ แคชมารวมอยู่ในชิปเดียวกันกับซีพียู
INTEL PENTIUM
อินเทลเพนเทียม Intel Pentium (1993-1998)
ในช่วงแรกได้ผลิตออกมาที่ความเร็ว 60 และ66 เมกะเฮิรตซ์ อีกไม่นานนักอินเทลก็ได้ ผลิตความเร็วสูงขึ้นอีกเป็น 75 และ 90 เมกิเฮิรตซ์ ซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากรุ่นแรกๆ และยังสามารถพัฒนาความเร็วไปได้อีกคือ 100 , 13 , 150 และ 166 เมกะเฮิรตซ์ เป็นซีพียูที่มีขีด ความสามารถสูงขั้นทั้งทางด้านความเร็วและเทคโนโลยี มีแคชภายในมากขึ้น และมี ความสามารถในการทำงานกับเลขทศนิยมได้ดีขึ้น และมีความสามารถในการทำงานกับเลข ทศนิยมได้ดีขึ้นโดยรุ่นแรกๆนั้นมีทรานซิสเตอร์ล้านกว่าตัว จึงทำให้มีความร้อนสูงมาก
PENTIUM II
Pentium ll เป็นซีพียูที่ประกอบไปด้วยเทคโนโลยีของ Pentium Pro ผนวกเข้ากับเทคโนโลยี MMX ที่ใช้สถาปัตยกรรมการทำงานแบบใหม่ที่เรียกว่า “Single InstructionMultiple Data (SIMD)” ซึ่งได้มีการปรับโครงสร้างสถาปัตยกรรมภายในซิปถึง 70 จุด เพื่อเร่งความเร็วในการ ทำงานแบบ 64 บิต และยังมีการเพิ่มชุดคำสั่งเข้าไปอีก 70 คำสั่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ประมวลผลงานด้าน 3 มิติ
เพนเทียมทูคลาเมธ Pentium II Klamath
คือชิปรุ่นต่อมาซึ่งถูกพัฒนาความสามารถให้สูงขึ้น Pentium II Klamath เป็นชิปตัวแรก ในตลาด ที่เปลี่ยนจากอินเอตร์เฟซแบบซ็อกเกตมาเป็นสล็อตแทน ซีพียูเพนเทียมทูคลาเมธ มี ความเร็วเริ่มตั้งแต่ 233-300 MHz . ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.35 ไมครอน มีสถาปัตยกรรม แบบ SECC (Single Eade Contact Cartridge) ซึ่งมีลักษณะเป็นการ์ดที่ใช้กับ Slot 1 มีแคช ระดับสองติดตั้งอยู่บนการ์ดซีพียู ทำงานที่ความเร็วบัส 66 MHz ใช้ไฟเลี้ยง 2.0 โวลด์
เพนเทียมทูเดสชู๊ตส์ ( Pentium II Deschutes )
ซีพียูในรุ่นนี้เป็นการพัฒนาในส่วนของแกนซีพียูให้สามารถทำงานได้ที่ความเร็วสูงขึ้น โดย การลดขนาดการผลิตลงจาก 0.35 มาเป็น 0.25 ไมครอน และเนื่องจากการใช้เทคโนโลยีการ ผลิตที่เล็กลง ทำให้ลดการใช้ไฟเลี้ยงซีพียูน้อยลงอีกด้วย ซึ่งจะช่วยลดความร้อนบนแกนซีพียู
เนื่องจากชิปแคชระดับสองที่ใช้กับซีพียูคลาเมธนั้น ถูกออกแบบให้สามารถรองรับการทำงานที่ความเร็วประมาณ 300 MHz เท่านั้น แต่ในการผลิตซีพียูในรุ่นเดสชู๊ตนี้ สามารถรองรับความเร็วได้ถึง 450 MHz ทำให้แคชระดับสองจะต้องทำงานที่ความเร็วสูงถึง 225 MHz
CELERON
ทางอินเทลได้นำเอาซีพียูเพนเทียมทูในรุ่นคลาเมธมาทำการตัดเอาส่วนของหน่วยความจำแคช ระดับสองออก เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงทำให้ซีพียูเซเลอรอนมีสถาปัตยกรรม ภายในแบบเดียวกับเพนเทียมทู เพียงแต่ซีพียูเซลเลอรอนจะไม่มีหน่วยความจำแคชระดับสอง เท่านั้น การที่ Celeron สนันสนุน MMX การโอนถ่ายข้อมูลมัลติมีเดียได้ด้วยความเร็วสูง แต่ ความสามารถของมันก็ไม่ได้เร็วอย่างที่คาดไว้ เพราะ แคชที่มีเพียง 32 K กับบัส ที่ความเร็ว 66 MHz ก็ไม่ได้ช่วยอะไรมากนัก และให้ชื่อรหัสการพัฒนาในรุ่นนี้ว่าโควินตัน ( Covignton )
เซลเลอรอนโควินตัน( Covington )
ซีพียูโควินตันจะมีด้วยกัน 2 รุ่นคือ รุ่นความเร็ว 266 และ 300 MHz ใช้เทคโนโลยีการ ผลิตขนาด 0.35 ไมครอน ส่วนของชิปจะถูกติดตั้งบนแผงวงจรขนาดเล็กที่เรียกว่า SECC ในเพ นเทียมทู แต่ในตระกูลเซลเลอรอนจะเรียกแผงวงจรดังกล่าวว่า SEPP (Single Edge Processor Packege) แทน ซึ่งจะใช้ติดตั้งบนเมนบอร์ดแบบ Slot 1 เช่นเดียวกัน และแผงวงจร SEPP ก็จะ ถูกบรรจุอยู่ในพลาสติกสีดำคล้ายตลับเกม
เซลเลอรอนเมนโดชิโน ( Mendocino )
ซีพียูในรุ่นนี้จีสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับเพนเทียมทูรุ่นรหัส Deschutes คือใช้ เทคโนโลยีการผลิตขนาด 02.5 ไมครอน ซึ่งเป็นเทคโนโบยีการผลิตซีพียูที่มีขนาดเล็กกว่าเซล เลอรอนโควินตันที่ใช้ 0.35 ไมครอน และที่สำคัญยังด้เพิ่มส่วนของหน่วยความจำแคชระดับ สองเข้าไปบนตัวชิปซีพียูอีก 128 KB โดยแคชจะทำงานที่ความเร็วเดียวกับซีพียู จะเป็นว่า หน่วยความจำแคชระดับสองของเมนโดชิโนจะมีขนาดเล็กกว่าเพนเทียมทูซึ่งมีขนาด 512 KB แต่แคชระดับสองเมนโดชิโนจะทำงานเร็วกว่า แคชของเพนเทียมทู ซึ่งมีความเร็วเพียง ครึ่งหนึ่งของซีพียูเท่านั้น โดยซีพียูในรุ่นนี้จะเริ่มที่ความเร็ว 300 -433 MHz และถูกติดตั้งบน แผงวงจรขนาดเล็กที่เรียกว่า SEPP
ซีพียูเซลเลอรอน PPGA Socket 370
เพื่อเป็นการลดต้นทุนอินเทลจึงได้ออกแบบ PPGA ซึ่งมีต้นทุนที่ถูกกว่าแบบ Slot 1 สำหรับ ซีพียูเซลเลอรอนแบบ PPGA Socket 370 นี้ ยังคงมีสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับเมนโดชิโนที่ใช้ เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.25 ไมครอน กับแคชระดับสองขนาด 128 KB ซึ่งทำงานที่ ความเร็วเดียวกับซีพียู มีความเร็วตั้งแต่ 300 – 533 MHz
PENTIUM III
เพนเทียมทรี Pentium III
ซีพียูเพนเทียมทรีเป็นซีพียูที่ได้ทำการเพิ่มชุดคำสั่ง Streaming SIMD Extension :SSE เข้าไป 70 คำสั่ง ซึ่งมีหน้าที่เร่งความเร็วให้กับการประมวลผลข้อมูลที่เป็นภาพ 3 มิติ พร้อมกับการเปลี่ยน หน่วยความจำแคชระดับสองให้เร็วขึ้นคือ จาก5.5 ns มาเป็น 4 ns
ซึ่งในรุ่นแรกนี้ใช้ชื่อรหัสว่า แคทไม Katmai และยังคงใช้เทคโนโลยีซีพียูแบบ Slot 1 เช่นเดียวกับเพนเทียมทู ต่อมาทางอินเทลได้ผลิตซีพียูเพนเทียมทรีออกมาใหม่คือ Coppermine ซึ่งมี รูปแบบซีพียูแบบ Slot 1 เช่นกัน
ซีพียูเพนเยมทรีแคทไม Pentium III Katmai
เป็นซีพียูที่มีความเร็วเริ่มต้นที่ 450 MHz ไปจนถึง 620 MHz ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด0.25 ไมครอน มีทรานซิสเตอร์จำนวน 28 ล้านตัว ใช้สถาปัตยกรรมแบบ SECC 2 (Single Edge Contact Cartridge 2 )
ซีพียูเพนเทียมทรีคอปเปอร์ไมน์ Pentuim III Coppermine
ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน มีทรานซิสเตอร์จำนวน 28 ล้านตัว ซีพียูมีแพ็คเกจแบบ SECC2 และลดขนาดของหน่วยความจำแคชระดับสองลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งคือ 256 KB แต่เป็น หน่วยความจำแคชที่สร้างบนชิปซีพียูซึ่งทำงานที่ความเร็วเดียวกับซีพียู เท่ากับว่าแคชของซีพียูคอปเปอร์ไมน์ทำงานเร็วเป็น 2 เท่า ของซีพียูแคทไม โดยหน่วยความจำแคชระดับสองนี้จะใช้ เทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่า Advanced Transfer Cache: ATC
Pentium 4
เพนเทียมโฟร์ Pentium 4 เป็นรุ่นที่ค่อนข้างจะมีความเร็วผิดจากที่คาดไว้ และมี Cache น้อย อย่างไรก็ดี ชิปชุดนี้ก็ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรมการ ออกแบบที่ใหม่ทั้งหมด ระบบไปป์ไลน์ 20 ขั้น ต่อมาได้ชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า Intel Pentium Processor ที่จะมาแทนที่ Pentium III จะออกสู่ตลาดด้วยความเร็วเริ่มต้นที่ 1.4 GHz 1.5 GHz ภายใต้สถาปัตยกรรมใหม่ล่าสุดที่ชื่อ Intel NetBurst micro - architecture นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มชุดคำสั่งใหม่ SSE 2 เข้าไปอีก 144 ชุดคำสั่ง
เทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาขึ้นใน Pentium 4 
1. Intel NetBurst micro – architecture เป็นสถาปัตยกรรมแบบใหม่ล่าสุดที่ช่วยให้สามารถ เร่งความเร็วของสัญญาณนาฬิกาให้ทำงานได้ที่ความถี่สูงๆ และเป็นจุดกำเนิดเทคโนโลยีใหม่ ๆอีก หลายอย่าง ที่ช่วยให้ Pentium 4 มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2. Hyper Pipelined Technology เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้ Pentium 4 สามารถทำงานตามคำสั่งซอฟต์แวร์ใน Pipeline ได้สูงถึง 20 ขั้นตอน รวมถึงการรองรับความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่ความเร็ว 1.5 และ 1.4 GHz
3. Rapid Execution Engine เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ซีพียู Pentium 4 มีความเร็วของบัสระบบ สูงถึง 400 MHz ซึ่งจะช่วยให้ซีพียูสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างซีพียูและอุปกรณ์อื่นๆเร็วขึ้น รวมถึงการรับส่งข้อมูลกับหน่วยความจำ Rambus ก็มีประสิทธิภาพขึ้นด้วย
4. Streaming SIMD Extensions 2 (SSE2) เป็นเทคโนโลยีชุดคำสั่งพิเศษที่พัฒนาต่อจาก SSE ซึ่งได้บรรจุคำสั่งใหม่เพิ่มเข้าไปอีก 144 คำสั่ง จากคำสั่งที่มีอยู่เดิมใน MMX และ SSE ซึ่ง ประกอบด้วยคำสั่งที่จัดการกับข้อมูลแบบจำนวนเต็มและทศนิยม อีกทั้งขยายขนาดของ SIMD Integer จากเดิม 64 บิต ที่ใช้กับเทคโนโลยี MMX มาเป็น 128 บิต ที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพ อัตรากรรคำนวณสำหรับ SIMD Integer เป็น 2 เท่า
5. Execution Trace Cache เป็นตัวถอดรหัสเพื่อแปลความหมายของคำสั่งที่ได้รับจากแรม พร้อมกับจัดเก็บคำสั่งที่ผ่านการถอดรหัสเรียบร้อยแล้ว เมื่อใดก็ตามที่ซีพียูมีการเรียกคำสั่งบางคำสั่งที่ อาจซ้ำกับคำสั่งที่มีอยู่ใน Trace Cache ก็จะได้ไม่ต้องเสียเวลามาถอดรหัสซ้ำอีก
6. Advanced Trace Cache เป็นหน่วยความจำแคชระดับ 2 ขนาด 256 KB ที่ติดตั้งอยู่บน Die ของแผ่นซิลิกอน ที่ทำงานด้วยความเร็วเดียวกับซีพียู ซึ่งเทคโนโลยีนี้ใช้มาตั้งแต่ซีพียู Pentium III แล้ว แต่ได้ทากรขยายช่องทางการส่งข้อมูลระหว่างซีพียูกับแคชเพิ่มจากเดิมที่มีขนาด 64 ไบต์ ขณะที่ Pentium 4 มีขนาด 128 ไบต์ ทำให้มีการรับส่งข้อมูลได้สูงกว่ามาก
7. Advanced Dynamic Execution ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘Speculative Execution' ซึ่งเป็น กระบวนการทำงานคำสั่งใดๆ เสร็จเพียงครึ่งทางก่อน แล้วรอดูว่ามีคำสั่งไหนที่ต้องการใช้ใน ขั้นต่อไป โดย Pentium 4 สามารถมองเห็นคำสั่งได้ 126 คำสั่ง ในแต่ละเที่ยว และโหลดคำสั่ง ได้ 48 คำสั่ง และเก็บคำสั่งไว้ใน Pipeline ได้ 24 คำสั่ง ช่วยลดจำนวนโครงข่ายที่เป็นสาเหตุให้ เกิดการทำนายผิดพลาดลง 33 %
8. Enhanced Floating Point/ Multimedia ซีพียู Pentium 4 ได้ขยายส่วนของการคำนวณ Floating Point Register ให้กว้างถึง 128 บิต เพื่อให้การคำนวณเลขทศนิยมมีความรวดเร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถทำงานกับโปรแกรมด้านมัลติมีเดียได้ดี
Pentuim 4 90 นาโนเมตร
เป็นโปรเซสเซอร์รุ่นใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 90 นาโนเมตรเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในวงอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ที่อินเทลนำมาใช้เป็นพิเศษสำหรับผลิตชิปบน เวเฟอร์ ขนาด 300 มิลลิเมตร เทคโนโลยีการผลิตใหม่นี้ประกอบด้วยทรานซิลเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและกินไปต่ำลง สเตรนซิลิคอน( strained silicon ) อินคอนเน็ค ความเร็วสูงที่ทำจากทองแดง( high – speed copper intercon - nects ) และวัสดุใหม่แบบ ( low – k dielectric ) ยังคงมีเทคโนโลยีไฮเปอร์ – เธรดดิ่ง ที่ช่วยการทำงานแบบมัลติทาสก์กิ้งอยู่เช่นเดิม และมี คุณสมบัติใหม่ๆเพิ่มเติม เช่น Enhanced Intel Micro-architecture แคช L2 มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 1 เมกะไบต์ และมีชุดคำสั่งเพิ่มขึ้นอีก 13 ชุด โปรเซสเซอร์ของอินเทลรุ่นต่างๆ ที่มีเทคโนโลยี ไฮเปอร์ – เธรดดิ่ง

อ้างอิงจากhttp://pirun.ku.ac.th/~b5055141/intel.html

การถอดชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์

การถอดชิ้นส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์

                ในบางครั้งอาจจะต้องถอดฝาเครื่องแล้วนำอุปกรณ์บางอย่างออก  เพื่อเปลี่ยน  ซ่อม  อัพเกรด หรือย้ายตำแหน่ง  รวมทั้งการ์ดต่าง ๆ แม้กระทั่งเมนบอร์ดด้วย  วิธีการก็ไม่มีอะไรยากถ้าสามารถประกอบเครื่องได้แล้ว การถอดก็ดูเหมือนว่าจะเป็นการย้อนทางเท่านั้น  ลองมาดูรายละเอียดกันสักเล็กน้อย( หมายเหตุ การถอดชิ้นส่วนของเครื่องคอมพิวเตอร์ ต้องมั่นใจว่าได้ถอดปลั๊กไฟออกเรียบร้อยแล้ว)

 

ส่วนประกอบ

รายละเอียด

การถอดไดรว์ต่าง 
                ฮาร์ดดิสก์  ฟล็อปปี้ดิสก์  ไดรว์ซีดีรอม  และอื่น ๆ เหล่านี้สามารถถอดออกได้อย่างง่ายดาย เพียงแต่ถอดสายไฟเลี้ยง  สายสัญญาณ  และถอดสกรูยึดตัวไดรว์ออกก็เสร็จแล้ว ในการประกอบกลับเข้าไปก็เพียงแต่ยึดติดเข้าไปใหม่ แล้วเสียบสายทั้งสองด้านให้ถูกต้อง
การถอดการ์ด
                การ์ดต่าง ๆ ที่เสียบอยู่ ถ้าต้องการถอดออก ก็เพียงแต่ปลดสายที่อาจจะมีต่ออยู่ทั้งภายนอกและภายในออก  ถอดสกรูที่ยึดการ์ดติดกับตัวเครื่อง
                                         จากนั้นก็เพียงแค่ดึงขึ้นมาตรง ๆ เท่านั้น จะเห็นได้ว่าง่ายมากจริง ๆ

การถอดเมนบอร์ด
                ในการถอดเมนบอร์ดค่อนข้างจะยุ่งยากพอสมควร  เนื่องจากมีสายและการ์ดพ่วงอยู่เต็มไปหมด  ต้องเริ่มต้นด้วยการถอดการ์ดทั้งหมดออก
                                         ปลดสายที่เชื่อมต่ออยู่ทั้งหมด ไขสกรูที่ยึดเมนบอร์ดออก เลื่อนเมนบอร์ดไปทางด้านข้างแล้วยกขึ้นมา ถ้าเปลี่ยนเมนบอร์ดอาจจะต้องถอดขาพลาสติกออกจากเมนบอร์ด ซึ่งค่อนข้างยากพอสมควร  ต้องใช้คีมบีบตัวล็อคของขาที่โผล่ขึ้นมาบนเมนบอร์ดแล้วค่อย ๆ ดันลงไป ในขณะที่การใส่เพียงแค่กดเข้าไปก็ใช้ได้แล้ว
                (การอบรมครั้งนี้ไม่ต้องถอดขาพลาสติกออกจากเมนบอร์ด)


การถอด Ram
                ถ้าต้องการเปลี่ยน RAM ไม่จำเป็นต้องถอดเมนบอร์ดออกมาให้ยุ่งยาก ปกติแล้วสามารถถอดได้เลยด้วยการปลดตัวล็อคแล้วดึงหรือพับออกมา หรือดึงขึ้นมาตรง ๆ ได้ แต่ในบางกรณีที่เมนบอร์ดอาจจะถูกบังอยู่ใต้แหล่งจ่ายไฟ อาจจะต้องถอดแหล่งจ่ายไฟออกก่อนก็ได้

การถอดซีพียู
                ถ้าต้องการเปลี่ยนซีพียูก็ไม่จำเป็นต้องถอดเมนบอร์ดออกมา สามารถถอดโดยการปลดตัวล็อคขึ้นมาแล้วดึง CPU ขึ้น  หรืออาจจะต้องค่อย ๆ ดึงทีละมุม สำหรับสล็อตก็ต้องปลดสายไฟพัดลมออกก่อน แต่ในกรณีที่เมนบอร์ดอาจจะถูกบังอยู่ใต้แหล่งจ่ายไฟ อาจจะต้องถอดแหล่งจ่ายไฟออกก่อนก็ได้

การถอดแหล่งจ่ายไฟ
                ปกติจะไม่มีการประกอบหรือถอดแหล่งจ่ายไฟ เนื่องจากมักจะติดตั้งมาเรียบร้อยแล้วพร้อมกับตัวเครื่อง นอกจากกรณีที่แหล่งจ่ายไฟชำรุด จะต้องซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่ หรือจำเป็นต้องถอดเนื่องจากเข้าถึงอุปกรณ์บนเมนบอร์ดไม่ได้ ซึ่งแหล่งจ่ายไฟนี้จะถูกยึดติดอยู่กับตัวเครื่อง ด้วยสกรูเพียงสี่ตัวที่ด้านหลังของเครื่องเท่านั้น เมื่อขันสกรูทั้งสี่ออก กล่องแหล่งจ่ายไฟก็จะหลุดออกมาทันที ซึ่งหากต้องการถอดเพื่อเปลี่ยนตัวใหม่ก็ควรถอดสายที่ต่ออยู่กับเมนบอร์ดและอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกก่อนแล้วจึงค่อยขันสกรูออกมา เพราะสายไฟจะได้ไม่ไปพันกับอุปกรณ์ตัวอื่น ๆ ซึ่งอาจทำให้เสียหายได้








ส่วนประกอบต่าง ๆ บนเมนบอร์ด

เมนบอร์ดเป็นแผงที่รวบรวมวงจรอิเล็กทรอนกส์ขนาดใหญ่ ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ส่วนประกอบ

รายละเอียด

ภาพประกอบ

 
พอร์ต (Port)
เป็นจุดที่ให้เมนบอร์ด ติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ภายนอกได้ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น
·        พอร์ตอนุกรม (Serial Port)
·        พอร์ตขนาน (Parallel Port)
·        พอร์ต USB (Universal Serial Bus)


สล็อตหน่วยความจำ (Memory Slot)
เป็นซ็อกเก็ตบนเมนบอร์ดเอาไว้เสียบแผงหน่วยความจำหลัก( RAM ) ของเครื่อง
ชิปเซ็ต (Chipset)
เป็นชุดวงจรรวมบนเมนบอร์ด ที่ทำหน้าที่ควบคุมการสื่อสารระหว่างซีพียู ( CPU )กับอุปกรณ์รอบข้าง
หน่วยความจำแคช
( Cache Memory)
ทำหน้าที่พักข้อมูลที่เพิ่งเรียกใช้ เมื่อมีการเรียกใช้ซ้ำอีกครั้ง ซีพียูจะดึงข้อมูลจากหน่วยความจำนี้ขึ้นมาใช้ได้เลย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานยิ่งขึ้น
โปรเซสเซอร์ซ็อกเกต
( Processor Socket)

เป็นที่ยึดตัวซีพียูเข้ากับเมนบอร์ด


ชิป CMOS (Complementary Metal Oxide Semi conductor)
ทำหน้าที่เก็บเวลาของระบบและค่าต่างๆที่BIOS ได้กำหนดเอาไว้ เมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีไฟจากแบตเตอรี่ทำหน้าที่จ่ายไฟหล่อเลี้ยง CMOS เอาไว้
สล็อตการ์ดขยาย
( Expansion Slot)
เป็นช่องเสียบการ์ดที่ทำหน้าที่ขยายคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ออกไป แบ่งออกได้เป็น 3แบบ
·        สล็อต ISA (Industry Standard Architecture) เป็นสล็อตแบบเก่าที่มีการเคลื่อนย้ายข้อมูลช้า
·        สล็อต PCI (Peripheral Component Interconnect) เป็นสล็อตที่มีความเร็วในการเคลื่อนย้ายข้อมูลสูง
·       สล็อต AGP (Accelerated GraphicsPortเป็นสล็อตที่ถูกออกแบบมาใช้ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างการ์ดแสดงผลแบบ AGP กับหน่วยความจำโดยเฉพาะ
ชิป BIOS (Basic Input/Output System)
ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่ ติดตั้งบนเมนบอร์ด
จัมเปอร์ (Jumper)

ใช้ในการปรับแต่งการใช้เมนบอร์ด

คอนเนคเตอร์ (Connector)
เป็นจุดที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ เช่น ระบบอ่าน-เขียนข้อมูล,ระบบจ่ายกำลังไฟฟ้า



การประกอบเครื่องมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

ขั้นตอนที่

รายละเอียด

ภาพประกอบ

 
1
ประกอบซีพียูและ RAM ลงบนเมนบอร์ด




2

ติดตั้งเมนบอร์ดเข้าไปในตัวเครื่อง

3

ติดตั้งฟล็อปปี้ไดรว์

4

ติดตั้งฮาร์ดดิสก์

5

ติดตั้งซีดีรอมไดรว์

6

ต่อสายสัญญาณต่าง ๆ ระหว่างอุปกรณ์เข้ากับเมนบอร์ด รวมถึงสายไฟระหว่างอุปกรณ์กับหม้อแปลงไฟฟ้า

8

ต่ออุปกรณ์ภายนอกเพื่อทดสอบ ซึ่งได้แก่ จอภาพ 

แผงแป้นอักขระและเมาส์

ขั้นตอนการทดลองเปิดเครื่อง

                เมื่อตรวจสอบทุกอย่างเรียบร้อยตามในหัวข้อก่อนหน้านี้แล้ว ก็เริ่มเสียบสายไฟจากปลั๊กเข้ากับแหล่งจ่ายไฟและจอภาพ  จากนั้นเปิดจอภาพก่อนแล้วจึงเปิดเครื่อง  ในกรณีของแหล่งจ่ายไฟแบบ ATX อาจจะต้องเปิดสวิทซ์ที่อยู่ที่ตัวกล่องของแหล่งจ่ายไฟทางด้านหลังของเครื่องก่อน แล้วจึงจะสามารถเปิดเครื่องได้ด้วยการกดปุ่มที่อยู่หน้าเครื่อง ถ้ามีไฟเข้าเป็นปกติก็จะเห็นไฟ Power ติดและได้ยินเสียงพัดลมหมุน  ถ้าพัดลมหมุนและจอภาพแสดงผล แต่ไฟ Power ไม่ติดอาจเกิดจากการเสียบสายไฟ Power กลับข้าง กรณีนี้สามารถแก้ไขภายหลังได้  เมื่อฟังเสียงฮาร์ดดิสก์เริ่มหมุน เสียงจากลำโพงในเครื่องดังและเริ่มมีข้อความปรากฏบนจอภาพ ถ้าทุกอย่างเป็นปกติจอภาพจะแสดงข้อความเกี่ยวกับ BIOS และการทดสอบ RAM ต่าง ๆ และมีเสียงบี๊ปหนึ่งครั้งก็แสดงว่าทุกอย่างผ่านการทดสอบเรียบร้อยแล้ว  จากนั้นจะเห็นว่าเครื่องกำลังเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ และพร้อมที่จะเข้าสู่ขั้นตอนการเตรียมเครื่องในกิจกรรมต่อไป นอกจากนี้ให้ลองสังเกตด้วยว่าไฟต่าง ๆ ที่อยู่หน้าเครื่องติดถูกต้องหรือไม่ เช่น ไฟฮาร์ดดิสก์กระพริบ  ไฟฟล็อปบี้ดิสก์ติดอยู่ครู่หนึ่งหรือไดรว์ซีดีรอม       กระพริบอยู่ช่วงหนึ่ง รวมทั้งพัดลมทุกตัวหมุนอยู่เรียบร้อยดีหรือไม่
                ในกรณีที่ลำโพงมีเสียงดังหลาย ๆ ครั้งโดยที่จอภาพไม่แสดงผลออกมา  อาจจะเกิดจากการติดตั้งการ์ดจอหรือ RAM ไม่เรียบร้อย ซึ่งจะต้องตรวจสอบความเรียบร้อยอีกครั้งหนึ่ง
                ถ้าเปิดเครื่องและไฟติดแล้ว แต่ทุกอย่างเงียบสนิท ไม่มีเสียงจากลำโพง และไม่มีภาพบนจอ ให้       ตรวจสอบว่าต่อลำโพงเรียบร้อยหรือไม่  ถ้าเรียบร้อยดีก็อาจจะเกิดจากซีพียูไม่ทำงานต้องตรวจสอบว่า  ติดตั้งซีพียูไว้เรียบร้อยดีหรือไม่  แล้วปิดเครื่องและลองเปลี่ยนจัมเปอร์เพื่อลดความเร็วของซีพียูให้ทำงานที่ความเร็วต่ำลงเผื่อว่าจะเกิดจากซีพียูผิดรุ่น  แล้วค่อยลองเปิดดูใหม่ นอกจากนี้ถ้า RAM ผิดรุ่นก็อาจจะได้ผลเช่นเดียวกันนี้ ตัวอย่างเช่น เมนบอร์ดแบบความเร็วบัส 100 MHz แต่ใส่ RAM PC66 ที่ใช้กับบัส 66 MHz เข้าไปแทน PC 100 ก็อาจจะทำให้เปิดเครื่องไม่ขึ้นเช่นกัน 

















ปัญหาและแนวทางการแก้ไข

                เมื่อทดลองเปิดเครื่องขึ้นมาแล้วไม่ทำงานหรือมีความผิดปกติเกิดขึ้น  ให้ใช้เกณฑ์ต่อไปนี้ในการวิเคราะห์ปัญหาและทดลองแก้ไข

อาการ

สาเหตุที่เป็นไปได้
แนวทางการแก้ไข

ทุกอย่างเงียบสงัดไม่มีทั้งไฟและเสียง

 
ตรวจสอบปลั๊กไฟ สายที่ต่อเข้าแหล่งจ่ายไฟและสวิทช์ที่กล่องแหล่งจ่ายไฟ  รวมทั้งสายที่ต่อจากเมนบอร์ดเข้ากับสวิทช์ด้านหน้าเครื่องด้วย และสายจากแหล่งจ่ายไฟเข้าสู่เมนบอร์ด

พัดลมแหล่งจ่ายไฟหมุน

ไฟสัญญาณ Power อาจจะติดหรือไม่ก็ได้  ไม่มีเสียงใด อีก
ติดตั้งซีพียูไม่ดี
ตรวจสอบว่าติดตั้งซีพียูแน่นหรือไม่ จัมเปอร์ซีพียูถูกต้องตามซีพียูที่ใช้หรือไม่ ถ้าจัมเปอร์กำหนดค่าสูงเกินกว่าที่ซีพียูรับได้ ทุกอย่างจะเงียบสนิท ตรวจสอบการต่อสายลำโพงในเครื่อง เนื่องจากเมนบอร์ดอาจจะมีเสียงสัญญาณความผิดพลาดดังขึ้นมา แต่ไม่ได้ต่อสายลำโพงจึงไม่อาจทราบสาเหตุได้

ไฟเข้า แต่มีเสียงบี๊ป

 
 
ตรวจสอบการติดตั้ง RAM ว่าเสียบแน่นสนิทหรือไม่ รวมทั้งการ์ดแสดงผล หรืออื่นๆ

ทุกอย่างดูเหมือนเป็นปกติ

มีเสียงบี๊ปแต่จอภาพไม่แสดงผล
 
ตรวจสอบไฟเลี้ยงเข้าจอภาพและสวิทซ์เปิดปิดดูว่ามีไฟเข้าหรือไม่ ต่อสายไฟเลี้ยงจอภาพแล้วเปิดสวิทซ์
ทุกอย่างดูเหมือนเป็นปกติมีเสียงบี๊ปแต่จอภาพไม่แสดงผล
 
ตรวจสอบสายสัญญาณเครื่องไปยังจอภาพว่าถูกต้องเรียบร้อยดีหรือไม่ เสียบสายให้ถูกต้องและแน่น

ทุกอย่างเป็นปกติ แต่ไฟ Power หรือไฟฮาร์ดดิสก์ไม่ติด

 
ตรวจสอบว่าเสียบสายถูกต้องหรือไม่ ลองสลับด้าน เนื่องจากอาจจะกลับขั้วบวกลบก็ได้
นอกจากนี้แล้วควรตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์อื่น ๆ ด้วย เช่น ฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปี้ดิสก์ ซีดีรอม การ์ดเสียง ลำโพงภายนอก และการ์ดต่าง ๆ ว่าทำงานอย่างถูกต้อง โดยมากแล้วถ้ามีปัญหามักจะเกิดจากการต่อสายต่าง ๆ ซึ่งอาจจะไม่ได้ต่อ หรือต่อผิด สลับด้าน สลับขั้ว เลื่อน เหลื่อม ไม่ตรง
  
อ้างอิงจากhttp://www.comcn.in.th